รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ระดับจังหวัด

VI ในขณะเดียวกัน ค่าครองชีพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาสูงขึ้น รวมไปถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำ าเนินชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย ทางด้านเวชภัณฑ์ ทำ าให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากเดิมที่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 17,403 บาท ในปี 2554 เพิ่มเป็นเดือนละ 21,616 บาท ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.19 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตรา การเพิ่มของรายได้ประจำ า โดยกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นสูงที่สุด เฉลี่ยเดือนละ 31,382 บาท รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เฉลี่ยเดือนละ 22,332 20,628 16,869 และ 16,441 บาท ตามลำ าดับ และเมื่อพิจารณาความ เพียงพอของรายได้ในการใช้จ่าย หรือสัดส่วนของค่าใช้จ่าย ต่อรายได้ประจำ าของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศ มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ประจำ า ร้อยละ 80.0 โดยครัวเรือนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด มีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 81.0) หรือมีความเสี่ยงรายได้ ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 80.0) ภาคเหนือ (ร้อยละ 79.8) ตามลำ าดับ (แผนภูมิ 1) หากพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่าย ตามสถานะ ทางเศรษฐสังคมของครัวเรือน ในปี 2564 (แผนภูมิ 2) พบว่า ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขาย และให้บริการ มีรายได้และค่าใช้จ่ายสูงที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่ใช่เกษตร ในขณะที่ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือน เป็นผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ และครัวเรือน ที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในการผลิต ก่อสร้าง และเหมืองแร่ คนงานเกษตร ป่าไม้ และประมง เป็นกลุ่มครัวเรือนที่ค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดำ ารงชีพสูงถึง ร้อยละ 87.9 และ 86.4 ของรายได้ประจำ า ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนสูงกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ ทั้งสองกลุ่มจึงมีความเสี่ยง ที่รายได้จะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจนำ าไปสู่การ กู้ยืมเงินและเป็นหนี้สินได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มครัวเรือน ที่มีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ สำ าหรับรายได้ ในระดับจังหวัด (แผนที่ 1) พบว่า ครัวเรือนในจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนน้อยที่สุด (15,491 บาท) โดยครัวเรือนส่วนใหญ่ในจังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรายได้ประจำ าเฉลี่ย เดือนละ 15,000 - 30,000 บาท ในขณะที่ครัวเรือน ส่วนใหญ่ในจังหวัดภาคกลาง และภาคใต้ มีรายได้ประจำ า เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ยกเว้นครัวเรือน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ยะลา และนราธิวาส ที่มีรายได้ ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่ำ ากว่า 20,000 บาท แผนภูมิ 2 รายได้ประจำ า ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือนต่อครัวเรือน และสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ประจำ า จำ าแนกตามสถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 รายได้ประจำ าต่อครัวเรือน พ.ศ.2564 ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อครัวเรือน พ.ศ.2564 สัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ประจำ า พ.ศ.2564 ครัวเรือนทั้งหมด ผู้ถือครอง ทำ าการเกษตร ผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่ใช่การเกษตร ผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขาย และให้บริการ ผู้ปฏิบัติงานในการผลิต ก่อสร้าง และเหมืองแร่ คนงานเกษตร ป่าไม้ และประมง ผู้ไม่ได้ปฏิบัติงาน ในเชิงเศรษฐกิจ 0 10,000 20,000 30,000 40,000 50,000 0.0 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 80.0 27,018 21,616 23,335 16,793 33,053 25,157 38,255 29,999 21,638 18,697 17,448 15,329 (บาท/เดือน) (ร้อยละ) 72.0 76.1 78.4 86.4 87.9

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==