ส่องผลิตภาพสถานประกอบการ ผ่านข้อมูลจุลภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย

The Business and Industrial Census: An Analysis Series 9 ผลิตภาพ , บาทต่อชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจากขนาดตัวอย่างของสถานประกอบการที่มีระยะเวลาในการดําเนินกิจการสูงมีค่อนข้าง จํากัด ทําให้ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณการณ์สูงขึ้น ( ภาพที่ 6) นอกจากรูปแบบการจัดตั้งทางกฎหมายและระยะเวลาในการดําเนินกิจการแล้ว ขนาดของสถาน ประกอบการ ซึ่งได้รับการพัฒนา การอุดหนุน หรือการเข้าถึงแหล่งทุนที่ต่างกัน อาจส่งผลต่อผลิตภาพ ด้วยเช่นกัน โดยหากทําการจัดกลุ่มสถานประกอบการออกตามขนาดของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นไปตาม นิยามของการกําหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 6 สามารถแบ่งได้เป็น วิสาหกิจรายย่อย (Micro) วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) และวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large) จากนั้นทําการ Log Transform ข้อมูลผลิตภาพและใช้ Kernel Density Estimation เพื่อดูการกระจายตัว พบว่า สถานประกอบการที่มีขนาดใหญ่กว่า มีค่าเฉลี่ยผลิตภาพที่สูงกว่าสถานประกอบการที่มีขนาดเล็กกว่า คือ วิสาหกิจขนาดใหญ่มีผลิตภาพสูงที่สุด รองลงมาเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง วิสาหกิจขนาดย่อมและ วิสาหกิจรายย่อย ตามลําดับ อย่างไรก็ตามจะเห็น การกระจายตัวผลิตภาพของวิสาหกิจรายย่อยนั้น มีลักษณะการกระจายตัวที่กว้างกว่าวิสาหกิจขนาดอื่น ( ภาพที่ 7) ภาพที่ 6: ผลิตภาพตามระยะเวลาการดําเนินกิจการ โดยวิธี Fractional-Polynomials Fit Plots ภาพที่ 7: Kernel Density ของ Log Transform ผลิตภาพสถานประกอบการตามขนาดของ สถานประกอบการ 6 ใช้เฉพาะเกณฑ์การจ้างงาน ตามนิยามการกําหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว .)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==