ส่องผลิตภาพสถานประกอบการ ผ่านข้อมูลจุลภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
The Business and Industrial Census: An Analysis Series 2 นิยามของผลิตภาพ ผลิตภาพ หรือ Productivity ตามคํานิยามขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา (OECD) หมายถึง การเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างผลผลิต (Output) และปัจจัยการผลิต (Input) ที่ประกอบอยู่ในกระบวนการการผลิต หรือการเปรียบเทียบระหว่างขนาดของผลผลิตที่ได้รับต่อการ ใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของทุน แรงงาน หรือวัตถุดิบอื่น เป็นต้น ผลิตภาพเป็นตัวชี้วัด ที่สําคัญในการประเมินหรือสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการผลิตที่วัดได้จากการใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งสิ้น หรือปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เป็นการวัดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับธุรกิจและระดับประเทศ ผลิตภาพจึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสําคัญและมุ่งเน้นพัฒนา เพื่อทําให้ธุรกิจของตน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความเป็นอยู่ของประเทศในระยะยาวดีขึ้น การวัดผลิตภาพ ผลิตภาพสามารถแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนําไปใช้ และบ่อยครั้งมัก ขึ้นอยู่กับข้อมูลในการศึกษา ประเภทของผลิตภาพสามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของปัจจัยการผลิตและชนิด ของผลผลิต หากแบ่งตามชนิดของปัจจัยการผลิต สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ผลิตภาพแบบปัจจัยเดี่ยว (Single-Factor Productivity) ซึ่งเป็นการวัดสัดส่วนของผลผลิตและปัจจัยการผลิตชนิดเดียว โดยสมมุติให้ปัจจัยอื่นไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตต่อจํานวนแรงงาน ผลผลิตต่อชั่วโมงการทํางาน ผลผลิต ต่อการใช้ปัจจัยทุน เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วการวัดผลิตภาพแบบปัจจัยเดี่ยวมักคํานวณอยู่ในรูปแบบอัตราส่วน ของผลผลิตหารด้วยปัจจัยการผลิต และการวัดผลิตภาพประเภทนี้เป็นรูปแบบที่นิยมใช้และแพร่หลายที่สุด เนื่องจากง่ายต่อการวัด การอธิบายและการทําความเข้าใจ ส่วนประเภทที่สองคือ ผลิตภาพแบบพหุปัจจัย (Multi-Factor Productivity) คล้ายกับการวัดแบบแรก แต่ปัจจัยการผลิตที่นํามาคํานวณมีมากกว่า หนึ่งปัจจัย ซึ่งอาจจะหมายรวมทุกปัจจัยการผลิต โดยวิธีการคํานวณอาจจะอยู่ในรูปแบบอัตราส่วน หรือ การใช้เทคนิคอื่น เช่น วิธีการศึกษาแบบแนวคิดบัญชีประชาชาติ (Growth Accounting Approach) วิธีการศึกษาแบบเศรษฐมิติ (Econometric Approach) เป็นต้น และหากแบ่งผลิตภาพตามชนิด ของผลผลิต สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทเช่นกัน คือ การวัดผลผลิตโดยมูลค่าผลผลิต (Gross Output) และการวัดผลผลิตโดยมูลค่าเพิ่ม (Value Added) 1 สามารถสรุปได้ตามตารางที่ 1 ประเภทของผลผลิต ประเภทของปัจจัยการผลิต ปัจจัยเดี่ยว (Single-Factor Productivity) พหุปัจจัย (Multi-Factor Productivity) แรงงาน ทุน ทุน + แรงงาน ทุน + แรงงาน + ปัจจัยอื่น ๆ ( พลังงาน , วัสดุ , บริการ ) มูลค่าผลผลิต (GrossOutput) ผลิตภาพแรงงาน ตามมูลค่าผลผลิต (Labour Productivity based on Gross Output) ผลิตภาพทุน ตามมูลค่าผลผลิต (Capital Productivity based on Gross Output) ผลิตภาพทุนและแรงงาน ตามมูลค่าผลผลิต (Capital-Labour MFP based on Gross Output) ผลิตภาพแบบ KLEMS (KLEMS Multifactor Productivity) มูลค่าเพิ่ม (ValueAdded) ผลิตภาพแรงงาน ตามมูลค่าเพิ่ม (Labour Productivity based on Value Added) ผลิตภาพทุน ตามมูลค่าเพิ่ม (Capital Productivity based on Value Added) ผลิตภาพทุนและแรงงาน ตามมูลค่าเพิ่ม (Capital-Labour MFP based on Value Added) - ตารางที่ 1: แสดงการแบ่งประเภทของผลิตภาพตามลักษณะผลผลิตและปัจจัยการผลิต ที่มา : องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) 1 มูลค่าเพิ่ม (Value Added) หมายถึง มูลค่าผลผลิต (Gross Output) – ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง (Intermediate Consumption)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==