ส่องผลิตภาพสถานประกอบการ ผ่านข้อมูลจุลภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย

The Business and Industrial Census: An Analysis Series 3 3 หากมีการทดแทนปัจจัยแรงงานด้วยปัจจัยอื่น การวัดผลิตภาพด้วยมูลค่าเพิ่มจะรวมเอาต้นทุนของปัจจัยทดแทน นั้นอยู่ในค่าใช้จ่ายขั้นกลาง แนวทางการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในบทความเชิงวิเคราะห์นี้มาจากโครงการสํามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ . ศ . 2565 จัดทํา โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจํานวนและลักษณะที่สําคัญ ของสถานประกอบการในการดําเนินธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต ทั่วประเทศ โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากขั้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการดําเนินกิจการของ สถานประกอบการ 2 ในปี พ . ศ . 2564 มีรายการข้อมูลที่เก็บรวบรวม เช่น ประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ขนาด ของสถานประกอบการ จํานวนคนทํางานและลูกจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน ต้นทุนการผลิต มูลค่าซื้อสินค้า เพื่อจําหน่ายหรือให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน มูลค่าผลผลิต รายรับของสถานประกอบการ สินทรัพย์ถาวร เป็นต้น สําหรับสถานประกอบการที่มีคนทํางานมากกว่า 10 คน จะทําการเก็บรวบรวมข้อมูล จากทุกสถานประกอบการ (Complete Enumeration Survey) ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทํางาน 1 - 10 คน ( มีประมาณร้อยละ 90 ของจํานวนสถานประกอบการทั้งสิ้น ) จะใช้วิธีการสํารวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey หรือ Partial Enumeration Survey) และขอบข่ายของข้อมูลจะเป็นเฉพาะสถานประกอบการ ที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC-2009) ดังนี้ ในการวิเคราะห์ผลิตภาพของสถานประกอบการ ใช้วิธีการวิเคราะห์ผลิตภาพแบบปัจจัยเดี่ยว (Single-Factor Productivity) โดยปัจจัยการผลิตคือแรงงานที่วัดด้วยชั่วโมงการทํางาน ส่วนผลผลิต ใช้วิธีการวัดโดยมูลค่าเพิ่ม (Value Added) แสดงอยู่ในรูปแบบอัตราส่วนดังนี้ ผลิตภาพ ( ) = มูลค่าเพิ่ม ( ) จํานวนชั่วโมงการทํางาน ( ) หมายถึง ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการต่อเวลาที่ใช้ในการทํางานของ คนทํางานในสถานประกอบการ การวัดผลิตภาพด้วยวิธีการนี้ นอกจากจะง่ายต่อการทําความเข้าใจแล้ว ปัจจัยการผลิตที่วัดด้วยจํานวนชั่วโมงการทํางานยังสะท้อนถึงความแตกต่างของลักษณะการทํางานของ แต่ละสถานประกอบการ และข้อดีของการวัดผลผลิตด้วยมูลค่าเพิ่มคือผลิตภาพจะมีการตอบสนองต่อ กระบวนการทดแทนระหว่างปัจจัยการผลิตอื่นและแรงงานน้อยกว่าการวัดด้วยมูลค่าผลผลิต 3 อย่างไรก็ตาม การวัดผลิตภาพรูปแบบนี้สะท้อนผลิตภาพของแรงงาน (Labour Productivity) ที่รวมอิทธิพลร่วมของ ปัจจัยการผลิตอื่นด้วย สําหรับด้านข้อจํากัดของข้อมูล เนื่องจากขอบข่ายของข้อมูลไม่ได้รวมทุกกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการตีความผลิตภาพในบทความเชิงวิเคราะห์นี้หมายความเฉพาะกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในโครงการสํามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ . ศ . 2565 หมวดใหญ่ หมวดย่อย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ C 10 - 33 การผลิต E 37 - 38 การจัดหา การจัดการ และการบําบัดนํ้าเสีย ของเสียและสิ่งปฏิกูล G I J L M N R S 45 - 47 55 -56 58 - 63 68 69 - 74 77 - 82 90 - 93 95 - 96 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค กิจกรรมการบริหาร และการบริการสนับสนุน ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ 2 โครงการสํามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ . ศ . 2565 แบ่งเป็นสองขั้นตอน คือขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==