สถานการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอุตสาหกรรมไทย

1 นิยาม ประเด็นที่ สาคัญ The Business and Industrial Census: An Analysis Series สถานการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอุตสาหกรรมไทย ( S - Curve Situation in Thai ’ s Industry ) การจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ( TSIC) ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจ าแนกตามรหัสกิจกรรมของ สานักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและในบทความนี้พิจารณาแค่อุตสาหกรรมภาคการผลิตไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาคการบริการ • จ านวนสถานประกอบการ จ านวนผู้ปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนแรงงานมูลค่าผลผลิต และมูลค่าเพิ่มในกลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2555-2565) • อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ที่อยู่ในกลุ่ม อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ตาม ลาดับ มีอัตราการเติบโตสูงสุด ในแง่ของลักษณะทั่วไปและผลการ ดาเนินกิจการของสถานประกอบการ 1.1 กลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve หรือกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีศักยภาพที่จะเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จากที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้นเพื่อให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนและผลักดันการลงทุนให้เพิ่มขึ้นและมีความสามารถแข่งขัน กับประเทศอื่นได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( First S-Curves) เป็นอุตสาหกรรมที่มีจ านวน สถานประกอบการที่มากและเป็นฐานที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่จ าเป็นต้องมีการสนับสนุนให้มีการต่อยอดการวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีและรังสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ( Next-Generation Automotive) 2) อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( Smart Electronics) 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ( Affluent, Medical and Wellness Tourism)* 4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ( Agriculture & Biotechnology) 5) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ( Processed Food) กลุ่มที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ( New S-Curves) เป็นอุตสาหกรรมที่มีรูปแบบการลงทุนเพื่อ พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีโดยจะเป็นหัวใจหลักของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ( Robotics) 2) อุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ ( Aviation & Logistics) 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ( Biofuels & Biochemicals)* 4) อุตสาหกรรมดิจิทัล ( Digital)* 5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ( Medical Hub) โดยในบทความนี้จะพิจารณาเพียงแค่กิจกรรมในอุตสาหกรรมภาคการผลิตไม่ได้เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมภาคการบริการ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==