สถานการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอุตสาหกรรมไทย

5 113.0 158.1 138.8 140.3 141.0 127.6 168.1 138.7 178.5 186.4 167.6 171.1 169.6 191.1 161.8 208.7 203.6 266.3 216.2 203.0 193.6 0.0 50.0 100.0 150.0 200.0 250.0 300.0 อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์แลระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ แผนภูมิที่ 4 ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อปีของลูกจ้างในอุตสาหกรรม S - Curve ในปี 2555 2560 และ 2565 จ าแนกตาม กลุ่มอุตสาหกรรม S - Curve (หน่วย: พันบาท) ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อปี (พันบาท) First S-Curve New S-Curve ปี 2555 ปี 2560 ปี 2565 เมื่อพิจารณาค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อปีของลูกจ้างในอุตสาหกรรม S-Curve พบว่า ใน 10 ปีที่ผ่านมา ค่าตอบแทนสูงขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งมาจากการยกระดับแรงงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็น แรงงานที่เป็นฐานเศรษฐกิจคุณภาพ มีความรู้และทักษะแรงงานตรงตามความต้องการของตลาด เพื่อให้ได้รับอัตรา ค่าจ้างที่สูงขึ้นตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เมื่อเจาะลึกลงไปในอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( First S - Curve ) พบว่า ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อปี ในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มขึ้นสูงสุด โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.9 เมื่อเทียบกับ ปี 2560 เนื่องจากอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เป็นเสาหลัก สาคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้และวงจรรวมที่มีขนาดเล็กลงและมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นทักษะของแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จึงถูกพัฒนาจนส่งผลให้ค่าตอบแทนที่ได้รับสูงขึ้น ในขณะที่ กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพมีอัตราการเพิ่มของค่าตอบแทนน้อยที่สุด โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน แม้ประเทศไทยจะมีการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มี ผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุด แต่แรงงานยังคงใช้วิธีดั้งเดิมและไม่ได้มีการน าเทคโนโลยีมาใช้ในระบบงานอุตสาหกรรมมาก เท่าที่ควร สาหรับอุตสาหกรรมอนาคต ( New S - Curve ) พบว่า ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อปีในกลุ่มอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร เพิ่มขึ้นสูงสุด โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับปี 2560 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโตและพัฒนาขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ท าให้การแพทย์ยิ่งมี ความ สาคัญต่อประเทศ จนส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะของแรงงานในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ มีอัตราการเพิ่มของค่าตอบแทนน้อยที่สุด โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่ทาให้ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องหยุดชะงักทั้งในภาคอุตสาหกรรมหรือการบริการ ส่งผลให้จ านวนสถาน ประกอบการและจ านวนแรงงานค่อนข้างคงที่ไปจนถึงลดลง จึงเป็นเหตุให้ค่าตอบแทนของแรงงานในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==