สถานการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอุตสาหกรรมไทย
7 จากการวิเคราะห์มูลค่าผลผลิตพบว่า โดยส่วนใหญ่อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( First S - Curve ) มีมูลค่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการในปี 2565 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยลดลงร้อยละ 35.3 22.5 และ 9.5 ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ตามล าดับ ยกเว้นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดทาแผนปฏิบัติ การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564-2570) และประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทข้ามชาติตลอดมาโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีห่วงโซ่อุปทานในประเทศ จ านวนมาก รวมทั้งผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสามารถต่อยอดในการบูรณาการ ภายในอุตสาหกรรมหรือระหว่างอุตสาหกรรม เพื่อสร้างระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพและมี คาสั่งซื้อ จากตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 เมื่อเทียบกับปี 2560 ในขณะที่มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการและมูลค่าผลผลิตในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ( New S - Curve ) ส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นตลอดระยะ เวลา 10 ปี ซึ่งในปี 2565 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการเพิ่มขึ้นสูงสุดคิดเป็น ร้อยละ 55.4 และ 359.7 เมื่อเทียบกับ ปี 2560 และ 2555 ตามล าดับ เนื่องจากรัฐบาลได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาไทย หลายแห่ง สนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยประเทศไทยมีศูนย์วิจัยและศูนย์ฝึกอบรม บุคลากรมากมายที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ให้ก้าวหน้าและเติบโตไปในอนาคต อย่างไรก็ตามกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์มีมูลค่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ ในปี 2560 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( First S - Curve ) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ( New S - Curve ) ตามล าดับ เนื่องจากการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ยัง ไม่เข้มข้นรวมถึงได้รับการส่งเสริมจากนโยบายของรัฐบาล ส่งผลให้มูลค่าผลผลิตเติบโตสูงขึ้น แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรม ยานยนต์ในประเทศไทยยังคงผลิตยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปเป็นหลักและสถานประกอบการที่ผลิตยานยนต์ ไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นค่ายรถยนต์ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความนิยมหลักของผู้บริโภคไทยส่งผลให้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ หดตัว ในส่วนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีการแข่งขันกันสูงจากธุรกิจต่างชาติขนาดใหญ่ มีโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรม และยอมขาดทุนเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่มีเงินทุนจ ากัดสามารถ แข่งขันด้วยได้ยาก แต่ในปี 2565 มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยกลับลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยมีสาเหตุจากการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์โดยเฉพาะธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขนส่งที่หยุดชะงักและยังสอดคล้องกับจ านวนสถานประกอบการและจ านวน ผู้ปฏิบัติงานที่มีแนวโน้มลดลง หากพิจารณามูลค่าผลผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( First S-Curve) พบว่า มูลค่าผลผลิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นตลอดทศวรรษที่ผ่าน มา แต่เนื่องด้วยอัตราการเพิ่มของมูลค่าผลผลิต ยังเพิ่มขึ้นไม่เท่ากับอัตราการเพิ่มของจ านวนสถานประกอบการ เป็น สาเหตุให้กลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการลดลง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==