ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 74 ในส่วนต่อไปนี้ จะทำ �การเปรียบเทียบปัจจัยระหว่าง 2 แบบจำ �ลอง ซึ่งพบปัจจัยที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลในทางตรงข้ามกัน (ตารางที่ 3.18) เช่น จำ �นวนเด็ก ำ็ ถ้าครัวเรือนมีจำ �นวนเด็กเพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหารลดลง (ร้อยละ 28.3) แต่จะมีโอกาส ที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 53.7) ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานเบื้องต้นของครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร ที่มีความจำ �เป็นต้องใช้จ่ายเงินกับ ค่าอาหารก่อน เนื่องจากมีเด็กอยู่ในครัวเรือนจำ �นวนมาก แล้วจึงนำ �เงินที่เหลือจากค่าอาหารซี่งมี ปริมาณน้อย ไปใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ็้ั์ิ ถ้าครัวเรือนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น รถปิคอัพฯ รถจักรยานยนต์ จะมีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหารเพิ่มขึ้น แต่จะมีโอกาสที่จะเป็น ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหารลดลง ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานเบื้องต้นของ ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร ที่มีความจำ �เป็นต้องใช้จ่ายเงินกับสิ่งที่ไม่ใช่อาหารก่อน (ยกตัวอย่าง เช่น รถปิคอัพฯ รถจักรยานยนต์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ) แล้วจึงนำ �เงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ อาหารซี่งมีปริมาณน้อย ไปใช้จ่ายกับอาหาร นอกจากนี้ ปัจจัยในเขตเทศบาลัั ซึ่งพบว่า ครัวเรือนในเขตเทศบาลมีโอกาสเป็นครัวเรือน ไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร มากกว่าครัวเรือนนอกเขตเทศบาล ร้อยละ 22.5 ก็สอดคล้องกับ สมมติฐานเบื้องต้นของครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร ที่มีความจำ �เป็นต้องใช้จ่ายเงินกับสิ่งที่ไม่ใช่ อาหารก่อน (ยกตัวอย่าง เช่น ค่าเช่าบ้านหรือค่าเดินทางในเมืองที่มีค่าครองชีพสูง) แล้วจึงนำ �เงินที่เหลือ จากค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่อาหารซี่งมีปริมาณน้อย ไปใช้จ่ายกับอาหาร

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==