ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

79 ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 ส่วนการลดหรือยกเลิกการบริจาคเงินหรือสิ่งของให้แก่องค์กรหรือมูลนิธิต่าง ๆ ทำ �ให้มี ครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายใน การบริจาคเงินหรือซื้อสิ่งของให้แก่องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ ของครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) และครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) มีจำ �นวนน้อยมาก การวิเคราะห์ปัจจัยิ เ์ ปัจั ย การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร โดย ใช้การถดถอยโลจิสติกส์ทวิภาค (Binary Logistic Regression) พบว่า ภาค ในเขตเทศบาล การศึกษา สูงสุดของหัวหน้าครัวเรือนฯ จำ �นวนเด็ก จำ �นวนผู้สูงอายุ จำ �นวนสมาชิกที่มีการใช้อินเทอร์เน็ต จำ �นวน ห้องที่ใช้นอน การเป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศ การเป็นเจ้าของเครื่องซักผ้าฝาบน การเป็นเจ้าของ ตู้เย็น การเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ การเป็นเจ้าของรถปิคอัพ/รถบรรทุกเล็ก/รถตู้ จำ �นวนผู้มีสิทธิ บัตรทอง และจำ �นวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผลต่อการเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝง ด้านอาหาร แต่ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นตึก/ไม้/ครึ่งตึกครึ่งไม้ ไม่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ ยากจนแฝงด้านอาหาร ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่ อาหาร โดยใช้การถดถอยโลจิสติกส์ทวิภาค (Binary Logistic Regression) พบว่า ภาค (ยกเว้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) การศึกษาสูงสุดของหัวหน้าครัวเรือนฯ จำ �นวนเด็ก จำ �นวนผู้สูงอายุ จำ �นวนสมาชิกที่มีการใช้อินเทอร์เน็ต ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นตึก/ไม้/ครึ่งตึกครึ่งไม้ จำ �นวนห้องที่ใช้นอน การเป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศ การเป็นเจ้าของเครื่องซักผ้าฝาบน การเป็นเจ้าของตู้เย็น การเป็น เจ้าของรถจักรยานยนต์ การเป็นเจ้าของรถปิคอัพ/รถบรรทุกเล็ก/รถตู้ จำ �นวนผู้มีสิทธิบัตรทอง และ จำ �นวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผลต่อการเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร สำ �หรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการอยู่ในเขตเทศบาล ไม่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ ยากจนแฝงด้านอาหาร เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบปัจจัยระหว่าง 2 แบบจำ �ลอง พบปัจจัยที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผล ในทางตรงข้ามกัน เช่น ‘ จำ �นวนเด็ก ำ �็ ก ถ้าครัวเรือนมีจำ �นวนเด็กเพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจน แต่ยากจนแฝงด้านอาหารลดลง (ร้อยละ 28.3) แต่จะมีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 53.7)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==