ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 80 ‘ ‘ จำ �นวนผู้สูงอายุ ำููุ้ ถ้าครัวเรือนมีจำ �นวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือน ไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหารเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 26.1) แต่จะมีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหารลดลง (ร้อยละ 18.6) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ็้ั์ิ ถ้าครัวเรือนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น รถปิคอัพฯ รถจักรยานยนต์ จะมีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหารเพิ่มขึ้น แต่จะมีโอกาส ที่จะเป็นครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหารลดลง ยกเว้น การเป็นเจ้าของ เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะทำ �ให้มีโอกาสที่จะเป็นทั้งครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร และครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร ลดลง 4.2 ข้อเสนอแนะเชิงโยบาย (Policy Recommendations)้ อิ ง 1) แม้ว่าครัวเรือนยากจนของประเทศไทย พ.ศ. 2563 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.5 โดยลดลง อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนความสำ �เร็จของภาครัฐในการพยายามขจัด ความยากจน แต่เมื่อพิจารณาถึงความยากจนแฝง พบว่า “ ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร” ัื่่้ และ “ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร”ั วื อ่ ย่ ย้ าี่ ไ่ ใ่ อ ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ภาครัฐควรมีมาตรการที่ เหมาะสมมาช่วยเหลือเพิ่มเติม มีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 13.6 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าครัวเรือนยากจน ประมาณ 2.5 เท่า ดังนั้น “การขจัดความยากจนแฝง”ั จึงควรเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ภาครัฐวางไว้ให้ ส่วนราชการร่วมกันผลักดัน ไปพร้อม ๆ กับเป้าหมายการขจัดความยากจน 2) หากภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ครัวเรือน ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ควรเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ภาครัฐให้ความสนใจและสนับสนุน 3) โครงการช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถลงไปช่วยเหลือบุคคล ในครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร ได้มากถึงร้อยละ 29 และบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจน แต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร ได้มากถึงร้อยละ 36 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ให้พ้นความยากจนแฝง รวมถึงยังมีบุคคลอีกส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ เลย หรืออาจได้รับความช่วยเหลือจากโครงการรัฐอื่น ๆ หลายโครงการพร้อมกัน ดังนั้น การมีฐานข้อมูล รายบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือที่ครอบคลุมทุกการช่วยเหลือของภาครัฐ จะช่วยให้ไม่มีบุคคลตกค้าง จากการช่วยเหลือหรือ “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind)” ่ิ้้้ั และจะเกิดการใช้งบประมาณรัฐ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==