ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 96 1.1. เส้นความยากจนด้านอาหาร ้ น้ า การคำ �นวณเส้นความยากจนด้านอาหารควรมีการปรับปรุงทุก 10 ปี เพื่อให้สามารถสะท้อน แบบแผนการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภคจะมีผลต่อ การคำ �นวณดัชนีราคาสินค้ารายพื้นที่ (spatial price indices: SPI) และต้นทุนสารอาหาร โดยในส่วนของ การกำ �หนดความต้องการสารอาหารขั้นต่ำ �ของคนไทยนั้น กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำ �งานเพื่อร่วมกันกำ �หนดความต้องการสารอาหารขั้นต่ำ �ของคนไทย และ พบว่าแนวโน้มคนไทยมีความต้องการแคลอรีน้อยลง แต่ต้องการโปรตีนมากขึ้น ซึ่งข้อมูลความต้องการ สารอาหารขั้นต่ำ �นี้ดังกล่าวจะกลายเป็นข้อมูลสำ �คัญสำ �หรับการคำ �นวณเส้นความยากจนด้านอาหาร ทั้งนี้ การคำ �นวณเส้นความยากจนด้านอาหารจะอาศัยทฤษฎีการบริโภคตามที่ได้พิสูจน์ มาแล้วข้างต้นว่า ควรเป็นรูปแบบการบริโภคที่ทุกคนได้รับอรรถประโยชน์เท่ากัน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใน ภูมิภาคใด หรืออยู่ในเขตเมืองหรือชนบท นอกจากนี้ ทฤษฎีอรรถประโยชน์นี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับ เป็น monotonic increasing function ของต้นทุนสารอาหาร ดังนั้น คนที่มีรูปแบบการบริโภคที่แตกต่าง กันย่อมมีต้นทุนสารอาหารที่ต่างกัน (หมายถึงผู้ที่บริโภคอาหารราคาแพงย่อมต้องจ่ายเงินมากกว่า) ดังนั้นการกำ �หนดต้นทุนสารอาหารจะทำ �ให้เราสามารถกำ �หนดระดับอรรถประโยชน์สำ �หรับรูปแบบการ บริโภคที่แตกต่างกันได้ โดยได้รับอรรถประโยชน์เท่ากันถึงแม้จะอยู่คนละพื้นที่และมีรูปแบบการบริโภค แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เส้นความยากจนด้านอาหาร จึงถูกกำ �หนดโดยต้นทุนสารอาหารและต้นทุนโปรตีน (Calorie cost and protein cost) ของประชากร 10% ที่จนที่สุด โดยที่ต้นทุนสารอาหารนี้คำ �นวณโดยใช้ ราคาในแต่ละภูมิภาคและเขตของอาหารแต่ละรายการ ก่อนที่จะถ่วงน้ำ �หนักด้วยสัดส่วนประชากร เพื่อคำ �นวณหาต้นทุนเฉลี่ยระดับประเทศและใช้ดัชนีราคาอาหารรายพื้นที่ (SPI) เป็นตัวปรับความแตกต่าง ของพื้นที่ (ภาค/เขต) อีกครั้ง 1.2. เส้นความยากจนในหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ้ นิ น้ าี่ ไ่่ อ แนวคิดในการคำ �นวณเส้นความยากจนในหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารตามแผนภาพด้านล่าง ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอรรถประโยชน์กับค่าใช้จ่ายด้านอาหาร และค่าใช้จ่ายรวม โดยเมื่อกำ �หนด เส้นความยากจนด้านอาหาร (จุด C บนเส้นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร) บุคคลจะได้อรรถประโยชน์เท่ากับ * u ที่จุด B อรรถประโยชน์ที่จุดนี้ เราสามารถคำ �นวณหาค่าใช้จ่ายรวมได้ (จุด D) ซึ่งสะท้อนถึง เส้นความยากจนรวม (BD) ที่มีความคงเส้นคงวาระหว่างเส้นความยากจนด้านอาหาร (BC) และ เส้นความยากจนหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (CD)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==