ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

21 ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 3.1.1 การกระจายตัวของครัวเรือน ั วั วื อ เพื่อทำ �การศึกษาลักษณะของครัวเรือนยากจนแฝงว่า มีครัวเรือนจำ �นวนมากน้อยเพียงใดที่ อาจถูกมองข้ามไป และสมควรได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาครัฐในบางมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครัวเรือนไม่ยากจนที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) หรือครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ผลการวิเคราะห์ ตามตาราง 3.1 พบว่า ครัวเรือนไม่ยากจนที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝง ด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) หรือ “ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร”ัื่่้ มีร้อยละ 10.6 ของ จำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด และครัวเรือนไม่ยากจนที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) หรือ “ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร”ั วื อ่ ย่ ย้ าี่ ไ่ ใ่ อ มีร้อยละ 3.0 ของจำ �นวน ครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด เมื่อรวมครัวเรือนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ภาครัฐควรหา มาตรการเหมาะสมมาช่วยเหลือเพิ่มเติม จะอยู่ที่ร้อยละ 13.6 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด โดย ประมาณคร่าว ๆ ได้จำ �นวน 3 ล้านครัวเรือน เมื่อคำ �นวณจากจำ �นวนครัวเรือนทั้งประเทศ 21,884,396 ครัวเรือน อ้างอิงจากการสำ �รวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน พ.ศ. 2563 สำ �นักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อพิจารณาครัวเรือนทั้งสองกลุ่มในระดับภาค พบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด มีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร ร้อยละ 2.4 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างใน พื้นที่ และมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร ร้อยละ 1.0 เมื่อรวม ครัวเรือนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว จะมีค่าเพียงร้อยละ 3.4 ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความยากจน แฝงในกลุ่มครัวเรือนไม่ยากจน ไม่รุนแรง ส่วนภาคที่ถือว่ามีสถานการณ์ความยากจนแฝงรุนแรงที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะในกลุ่ม ครัวเรือนไม่ยากจน คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจน แฝงด้านอาหาร ร้อยละ 13.8 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างในพื้นที่ และมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจน แต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร ร้อยละ 2.6 ซึ่งเมื่อรวมครัวเรือนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว จะสูงถึงร้อยละ 16.4 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของครัวเรือนยากจนแฝงและครัวเรือนไม่ยากจนแฝง ทั้ง 4 ประเภท พบว่า มีครัวเรือนตัวอย่างที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) จำ �นวน 1,477 ครัวเรือน (ร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น) โดยกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากที่สุด ส่วนครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) มีจำ �นวน 6,575 ครัวเรือน (ร้อยละ 13.7 ของครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น) โดยกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดเช่นเดียวกันกับ ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน ตามมาด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด ตามลำ �ดับ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==