ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563
37 ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 3.1.6 มิติด้านดิจิทัลของครัวเรือน ิ ติด้าิ จิทัลั วื อ เมื่อพิจารณาจำ �นวนอุปกรณ์ ICT ที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ ตามตาราง 3.6 พบว่า ครัวเรือน ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็นเจ้าของอุปกรณ์ ICT โดยเฉลี่ยน้อยกว่าครัวเรือนประเภท อื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน ที่มีค่าเฉลี่ยไม่ถึง 1 เครื่องต่อ ครัวเรือน ซึ่งหมายความว่า ยังมีครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) จำ �นวนหนึ่งที่ ไม่มีโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนใช้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐในบาง โครงการ เมื่อรวมโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนและแบบปุ่มกด พบว่า ครัวเรือนยากจนแฝงด้าน ที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ เฉลี่ยประมาณ 1.34 เครื่องต่อครัวเรือน ใน ขณะที่จำ �นวนสมาชิกเฉลี่ยของครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) มีค่าอยู่ที่ 2.42 คน ต่อครัวเรือน นั่นคือ จะมีประมาณ 1 คนในครัวเรือนประเภทนี้ ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง ซึ่ง เป็นสถานการณ์เช่นเดียวกับครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ เฉลี่ยประมาณ 2.5 เครื่องต่อครัวเรือน ในขณะที่จำ �นวนสมาชิกเฉลี่ยของครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) อยู่ที่ 3.58 คนต่อครัวเรือน นั่นคือ มีประมาณ 1 คนต่อครัวเรือนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือเป็น ของตนเอง ส่วนการเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) พบว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 0 เครื่องต่อครัวเรือน ซึ่งหมายความว่า แทบจะไม่มีครัวเรือนประเภทที่ 3 ครัวเรือนใดเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์เลย นอกจากนี้ จำ �นวนสมาชิกที่มีการใช้อินเตอร์เน็ต (ผ่านคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์/มือถือ/แท็บเล็ต ฯลฯ โดยไม่คำ �นึงว่าจะใช้ในสถานที่ใด) ของครัวเรือน ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ก็มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (0.78 คนต่อครัวเรือน) ซึ่งน้อยกว่า ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ประมาณ 2 เท่า จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็น ครัวเรือนที่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าถึงอุปกรณ์ ICT ต่าง ๆ มากที่สุด และควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนมากกว่าครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ พอจะอนุมาน ได้ว่า ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้สามารถเข้าถึง อุปกรณ์ ICT ได้ดีกว่าครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ซึ่งจำ �เป็นต้องใช้จ่ายส่วน ใหญ่ไปกับค่าอาหาร เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ ICT พบว่า ในครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) และครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ไม่มีครัวเรือนตัวอย่างครัวเรือน ใดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเลย ส่วนครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ก็มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายการดังกล่าวที่น้อยมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==