ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 46 3.1.8 การได้รับสวัสดิการ/ผลประโยชน์ต่าง ๆ จากรัฐ้ รับั สิ ก์ ต่าั ฐ สวัสดิการรักษาพยาบาลของบุคคลในตาราง 3.8 พบว่า บุคคลในครัวเรือนทุกประเภท ส่วนใหญ่มีสิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนสิทธิเบิกจากหน่วยงานราชการ/ รัฐวิสาหกิจ พบว่าบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) มีสิทธิมากที่สุด (ร้อยละ 13.0) ตาม มาด้วยบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร (ร้อยละ 5.8) โดยบุคคลในครัวเรือนยากจน แฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจน้อยที่สุด (ร้อยละ 0.4) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนยากจนและครัวเรือนไม่ยากจน พบว่า สำ �หรับทุกสิทธิรักษา พยาบาลบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนมีสัดส่วนมากกว่าบุคคลในครัวเรือนยากจน ยกเว้นสิทธิรักษา พยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ครัวเรือนยากจนมีสัดส่วนมากกว่า สำ �หรับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่อาจ ถูกมองข้าม พบว่า ใน 100 คนที่อยู่ในครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร จะมีประมาณ 29 คน ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนบุคคลที่อยู่ในครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร 100 คน จะมีประมาณ 36 คน ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้ประชาชนบางส่วน จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนทำ �ให้ประชาชนกลุ่มนั้นสามารถก้าวผ่าน เกณฑ์ความยากจนของประเทศมาได้ แต่อย่างไรก็ดี ความช่วยเหลือนั้นก็ยังไม่เพียงพอให้ประชาชน กลุ่มดังกล่าวผ่านเกณฑ์ความยากจนแฝงได้ ภาพ 3.8 ร้อยละของการมีสวัสดิการรักษาพยาบาลของบุคคลในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนไม่ยากจน 94.9% ของบุคคลในครัวเรือนยากจน มีสิทธิ ุ คั วื อี สิทิ ของบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจน มีสิทธิุ คั วื อ่ ยี สิทิ 74.8% 0.9% ของบุคคลในครัวเรือนยากจน มีสิทธิ ของบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจน มีสิทธิ 10.7% บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)ั ตั นุ ข้ ว้ าั ต สิทธิเบิกจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจิ ทิ เิ ก่ วั ฐิ สิ จ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==