ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563
51 ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2563 3.2.1 ค่าซื้อสลากกินแบ่ง หวยของรัฐ เล่นม้าแข่ง และการพนันอื่น ๆ่ าื้ อิ น่ งั ฐ่ น้ า่ งั นื่ น ในการวิเคราะห์การแปลงค่าซื้อสลากกินแบ่ง หวยของรัฐ เล่นม้าแข่ง และการพนันอื่น ๆ ในส่วนนี้ จะจำ �ลองสถานการณ์ (Scenario) 2 แบบ ดังนี้ สถานการณ์ที่ที่ 1: ์เมื่อครัวเรือนซื้อสลากกินเเบ่ง หวยของรัฐ เล่นม้าแข่ง และการพนัน อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 50 แล้วนำ �เงินที่เหลือส่วนนี้ ไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารทั้งหมด สถานการณ์ที่ที่ 2: ์เมื่อครัวเรือนไม่ซื้อ/ไม่เล่น สลากกินเเบ่ง หวยของรัฐ เล่นม้าแข่ง และ การพนันอื่น ๆ ทั้งหมด แล้วนำ �เงินที่เหลือส่วนนี้ ไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารทั้งหมด (L50) (L100) โดยในหัวข้อย่อยที่ 3.2.1 จะทำ �การแปลงค่าซื้อสลากกินแบ่ง หวยของรัฐ เล่นม้าแข่ง และ การพนันอื่น ๆ หัวข้อย่อยที่ 3.2.2 จะทำ �การแปลงค่าใช้จ่ายในการบริจาคเงินหรือซื้อสิ่งของให้แก่องค์กร และมูลนิธิต่าง ๆ ส่วนหัวข้อย่อยที่ 3.2.3 จะทำ �การแปลงค่าใช้จ่ายรวม 2 รายการดังกล่าว นั่นคือ แปลงยอดค่าใช้จ่ายรวมจากการซื้อสลากกินแบ่ง หวยของรัฐ ฯลฯ และการบริจาคเงินหรือซื้อสิ่งของให้ แก่องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ ข้อมูลจากตาราง 3.9 พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านอาหารเฉลี่ยของครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) เพิ่มขึ้นประมาณ 28 บาท สำ �หรับสถานการณ์ L50 (เมื่อลดหวยหรือการพนันลงครึ่งหนึ่ง) และเพิ่มขึ้นประมาณ 57 บาท สำ �หรับสถานการณ์ L100 (เมื่อไม่เล่นหวยหรือการพนันทั้งหมด) ส่วนค่า ใช้จ่ายด้านอาหารเฉลี่ยของครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) เพิ่มขึ้นมากกว่าครัวเรือน ยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) ประมาณ 3 เท่า กล่าวคือ ประมาณ 87 บาท สำ �หรับสถานการณ์ L50 และเพิ่มขึ้นประมาณ 173 บาท สำ �หรับสถานการณ์ L100
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==