ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564 130 ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุ (Material Deprivation Indicator) ในปี 2009 ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุ (Material Deprivation ัี้ััุ Indicator) ได้รับการรับรองโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) 27 ประเทศ และคณะ กรรมาธิการยุโรป โดยในปัจจุบัน ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ในประเทศในสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อติดตามความก้าวหน้าใน การต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันทางสังคม (Social Exclusion) ในระดับประเทศ และระดับสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2010 ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุ ได้ทวีความสำ �คัญ มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในยุทธศาสตร์ลิสบอน (Lisbon Strategy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ระดับ สหภาพยุโรปสำ �หรับสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกโดยรวม ได้ปรากฎความขาดแคลนทางวัตถุเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการขับเคลื่อนให้พ้น จากความเสี่ยงของความยากจนและการกีดกันทางสังคม ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุในระยะแรก มีข้อจำ �กัดหลายประการ เช่น จำ �นวนรายการตัวแปรที่น้อย หรือปัญหาด้านความแกร่ง (robustness) จึงได้ทำ �การพัฒนา ตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุใหม่ โดยจัดทำ �เป็น 2 ชุด ชุดแรกคือ ชุดสำ �หรับประชากร ทั่วไป (ทุกอายุ) และชุดที่ 2 คือชุดสำ �หรับเด็ก (อายุ 1 – 15 ปี) ซึ่งจะมีตัวแปรทั้งในระดับ บุคคลและระดับครัวเรือน สำ �หรับรายการตัวแปรของตัวชี้วัดความขาดแคลนทางวัตถุ ชุดสำ �หรับประชากรทั่วไป (ทุกอายุ) ที่ได้รับการทดสอบและพัฒนาโดย Eurostat ในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 13 ตัวแปร แบ่งเป็นตัวแปรระดับบุคคล 5 รายการ และระดับครัวเรือน 8 รายการ รายละเอียดตามตาราง ผ3.1

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==