ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564 8 บทที่ 2 วิธีการวิเคราะห์ 2.1 กรอบแนวคิดิด ในปัจจุบัน ประเทศไทยใช้เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) ตามแนวทาง ของธนาคารโลก (World Bank) เป็นเกณฑ์วัดความยากจน โดยสำ �นักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ �เส้นความยากจน ซึ่งเส้น ความยากจนนี้ เป็นการวัดความยากจนเชิงสัมบูรณ์ (Absolute Poverty) รูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ มีการกำ �หนดปริมาณเงินขั้นต่ำ �ที่มนุษย์จะสามารถดำ �รงชีวิตอยู่ได้ไว้อย่างชัดเจน โดยปริมาณเงินนั้น คำ �นวณมาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำ �รงชีพ ทั้งนี้ เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) คำ �นวณมาจากผลรวมของเส้น ความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty Line: FPL) และเส้นความยากจนด้านที่ไม่ใช่ อาหาร (Non-Food Poverty Line: NFPL) หรือ เส้นความยากจน (PL) = เส้นความยากจนด้านอาหาร (FPL) + เส้นความยากจนด้านที่ไม่ใช่อาหาร (NFPL) แนวคิดในการจัดทำ �รายงานความยากจนแฝงของครัวเรือนเกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การวัดความยากจนโดยใช้เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) อาจทำ �ให้มองข้าม “ความยากจนแฝง” ในบางครัวเรือนได้ ดังตัวอย่าง 2 กรณีต่อไปนี้ ครัวเรือนมีสมาชิก 1 คน (นาย ก.) มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเส้นความยากจน จึงไม่ถูกนับ เป็นครัวเรือนยากจน แต่ นาย ก. เป็นคนที่เข้ามาทำ �งานในเมืองใหญ่ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ จึงเป็นค่าเช่าบ้านและค่าเดินทางไปกลับที่ทำ �งาน (ค่าใช้จ่ายด้านที่ไม่ใช่อาหาร สูงกว่า เส้นความยากจนด้านที่ไม่ใช่อาหาร) นาย ก. จึงเหลือเงินจำ �นวนน้อยมากสำ �หรับใช้จ่ายเป็น ค่าอาหาร ต้องอดมื้อกินมื้อ (ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ต่ำ �กว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร) 1 กรณีที่ที่ 1ี

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==