ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2564 10 ที่สังคมยอมรับ โดยในการคำ �นวณตามแนวคิดนี้ มักจะใช้รายได้หรือค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบ กับเส้นความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty Line: FPL) กล่าวคือ ถ้าคนหรือครัวเรือน มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่ำ �กว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร แสดงว่า คนหรือครัวเรือนนั้น ไม่มีความสามารถในการได้รับหรือบริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอ จึงตกเป็นคนหรือ ครัวเรือนยากจนด้านอาหาร สำ �หรับประเทศไทย มีการนำ �แนวคิดความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty) มาใช้ในการจัดทำ �ข้อมูล “ครัวเรือนยากจนด้านอาหาร”ัื้ ซึ่งหมายถึง ครัวเรือนที่มีรายจ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumption Expenditure: CE) ต่ำ �กว่าเส้นความยากจน ด้านอาหาร (Food poverty line: FPL) กล่าวคือ เป็นการเปรียบเทียบด้วย 1 เกณฑ์ โดยเปรียบเทียบรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (ผลรวมของค่าใช้จ่ายด้านอาหาร (Food Expenditure: FE) และค่าใช้จ่ายด้านที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food Expenditure: NFE) กับเส้นความยากจนด้านอาหาร (Food poverty line: FPL) ซึ่งเขียนเป็นเงื่อนไขได้ว่า ผลรวมของค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าใช้จ่ายด้านที่ไม่ใช่อาหาร (FE + NFE) < เส้นความยากจนด้านอาหาร (FPL) แนวคิดความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty) ดังกล่าว มีความแตกต่างกับ แนวคิดความยากจนแฝงในรายงานฉบับนี้ เนื่องจากแนวคิดความยากจนแฝงในรายงาน ฉบับนี้ เป็นการวัดความสามารถในมิติด้านอาหารและมิติด้านที่ไม่ใช่อาหารไปพร้อม ๆ กัน จึงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้มองข้ามมิติด้านใดด้านหนึ่ง ในขณะที่แนวคิดความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty) เป็นการวัดความสามารถในมิติด้านอาหารเพียงด้านเดียวเท่านั้น ทำ �ให้ ครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายเท่ากับเส้นความยากจนด้านอาหารหรือสูงกว่าเพียงเล็กน้อย จะถูกนับเป็นครัวเรือนไม่ยากจนด้านอาหาร แม้ว่าในความเป็นจริง ค่าใช้จ่ายครัวเรือน ไม่ได้ถูกนำ �ไปใช้เป็นค่าอาหารทั้งหมดก็ตาม ซึ่งครัวเรือนเช่นนี้จะไม่ถูกละเลยใน การวัดความสามารถเมื่อใช้แนวคิดความยากจนแฝงตามรายงานฉบับนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==