ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความสำคัญ เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร หรือ Food Insecurity Experience Scale: FIES เป็นวิธีการวัดมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดย FAO เริ่มในปี พ.ศ. 2557 และมีการนำไปใช้ในประเทศมากกว่า 140 ประเทศทั่ วโลก เป็นเครื่ องมือที่ มีศักยภาพในการติดตามตรวจสอบระดับประเทศ โดยการสอบถาม ประสบการณ์ของประชากรเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหารในมิติของการเข้าถึงอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้อง กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs) ของสหประชาชาติเป้าหมายที่ 2 การยุติความหิวโหย บรรลุความ มั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ( End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture) โดยมุ่งมั่นที่จะขจัดความ หิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบภายในปี 2573 เพื่อรับประกันให้แน่ใจว่าทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริม เกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่ง ที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม และเนื่องจาก FIES เป็นเครื่องมือที่วัดการเข้าถึงอาหาร ของประชากร ดังนั้น คณะกรรมการสถิติของสหประชาชาติจึงได้เลือก “ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ของประชากรในระดับปานกลางหรือรุนแรง โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ( FIES)” เป็นตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 2.1.2 โดยวัดร้อยละของประชากรที่ประสบกับความไม่มั่นคง ทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรงระหว่างช่วงเวลาอ้างอิง ภายใต้เป้าประสงค์ที่ 2.1 “ยุติความหิวโหย และสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึง อาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี” ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหารสะท้อนความสามารถการเข้าถึงอาหาร และความสมดุลของการกินอาหารประชากรในระดับที่แตกต่างกัน โดยความ ไม่มั่นคงทางอาหารระดับ ปานกลางมักจะสัมพันธ์กับความไม่สามารถที่จะกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและกินอาหารที่สมดุล สามารถทำนายรูปแบบด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหารในกลุ่มประชากรกับภาวะขาดแร่ธาตุวิตามิน ( Micronutrient deficiency) และการกินอาหารที่ไม่สมดุล ส่วนความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงนั้น จะสะท้อนโอกาสของการกินอาหารของประชากรที่ลดลงในระดับสูง ซึ่งมีรูปแบบที่รุนแรงกว่าภาวะโภชนาการต่ำ ( undernutrition) นำไปสู่ความอดอยาก ( hunger) ของประชากร การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง รวมถึงการวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารในกลุ่มประชากรย่อยต่างๆ จะทำให้ ทราบสถานการณ์ความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร และสามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหา สนับสนุนการวางแผน และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ งจะมีประโยชน์ในการติดตาม และประเมินความสำเร็จของนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศ และระดับสากลต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==