ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
2 1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร 2. เพื่อวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรไทย ในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง 3. เพื่อทราบสถานการณ์และแนวโน้มความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรไทย และประชากรกลุ่มเสี่ยง ที่จะประสบกับความไม่มั่นคงทางอาหาร 4. เพื่อนำไปใช้รายงานข้อมูลตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและระดับสากล (SDG Global Database) 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีข้อมูลฐาน ( Baseline) ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรไทย ที่สามารถนำไปใช้เป็น ตัวชี้วัดสำคัญในการวางแผนนโยบายเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 2.1.2 และเป็น ตัวชี้วัดประกอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร 2. มีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำเป้าหมายและมาตรการในการลดความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนงานและโครงการต่างๆ ในการรับมือกับความไม่มั่นคง ทางอาหารของประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==