ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

5 แผนภูมิที่ 2.1 องค์ประกอบของความมั่นคงทางอาหาร ที่มา : FAO, Food Security, Policy Brief Issue 2 ( June 2006 ) องค์การอนามัยโลก ( WHO ) กล่าวถึงความมั่นคงทางอาหารว่าการที่ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึง อาหารได้อย่างเพียงพอในทุกเวลา รวมทั้งมีอาหารปลอดภัยและคุณค่าโภชนาการที่เพียงพอในทุกเวลา และเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี ซึ่งมิใช่เฉพาะเพียงให้มีผลิตผลทางอาหารมากขึ้นเท่านั้น แต่รวมถึงโอกาสของประชากรที่สามารถมีรายได้ในการซื้ออาหารด้วย และต้องค ำนึงถึงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุความมั่นคงทางอาหาร มีหลักสามประการคือ 1. Food Availability หรือความเพียงพอของปริมาณอาหารซึ่งต้องมีอาหารที่เพียงพออย่างสม่ำเสมอ 2. Food Access หรือการเข้าถึงแหล่งของอาหารที่มีอย่างเพียงพอเพื่อที่จะได้รับอาหารที่เหมาะสม และมีคุณค่าทางโภชนาการ 3. Food Use หรือการใช้ประโยชน์ด้านอาหารอย่างเหมาะสมโดยอ้างอิงจากโภชนาการและการดูแล ขั้นพื้นฐานตลอดจนการมีแหล่งน้ำที่เพียงพอและถูกหลักสุขอนามัย สำหรับประเทศไทยมีการนิยามความหมายความมั่นคงทางอาหารไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการ อาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ว่าหมายถึง “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชน ในประเทศ อาหารมีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการตามวัยเพื่อการ มีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความคงอยู่ของ ฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ รักษาความสมดุลของระบบ นิเวศและความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศทั้งในภาวะปกติหรื อเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร” จากทั้งหมดกล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าแนวคิดความมั่นคงทางอาหารเน้นให้ทุกคนสามารถเข้าถึง อาหารที่เพียงพอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อจำกัดที่ทำให้บุคคลหรือครัวเรือน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ การผลิต หรือการกระจายอาหาร จะเกิดภาวะที่เรียกว่า ความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food Insecurity) ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลประสบกับ การขาดแคลนอาหารไม่ว่าจะเป็นการขาดปริมาณอาหารที่เพียงพอ การลดคุณภาพของอาหารที่บริโภค หรือแม้กระทั่ งการอดอาหารเพราะไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ความไม่มั่ นคงทางอาหารมีความซับซ้อน และเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ภาวะการว่างงาน หรือปัญหาการ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==