ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

6 เข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัยซึ่งไม่เพียงแค่การขาดแคลนทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงความไม่มั่นใจว่าจะมี อาหารเพียงพอในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของผู้ คน โดยความไม่มั่นคงทางอาหารเป็นวาระสำคัญระดับโลก จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นวาระการติดตามการพัฒนาใน บริบทของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ภายใต้ SDG 2 ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการยุติความหิวโหยและสร้างความมั่นคงทางอาหาร การวัดความไม่มั่นคงทางอาหาร การวัดความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เครื่องมือที่องค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ ( FAO) ได้พัฒนาขึ้นเรียกว่า Food Insecurity Experience Scale (FIES) ซึ่งเป็น เครื่องมือสำคัญในการวัดประสบการณ์ของบุคคลเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยวิธีการ FIES มีข้อดีคือ สามารถประเมินความถูกต้องและความเชื่อถือของค่าประมาณความชุกของภาวะขาดแคลนอาหาร และ สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเครื่องมือดังกล่าวผ่านกระบวนการทดสอบความแข็งแกร่ง ของเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์มาอย่างยาวนาน คำถามเฉพาะของ FIES สามารถผลิตค่าประมาณความชุก ของภาวะขาดแคลนอาหารที่เชื่อถือได้ แม้ในประเทศที่มีอัตราความขาดแคลนอาหารต่ำหรือสูงมาก นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จาก FIES มีบทบาทสำคัญในการระบุระดับความไม่มั่นคงทางอาหารในแต่ละ พื้นที่ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคง ทางอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความหิวโหยและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ที่ยั่งยืนให้กับประชากรโลกต่อไป 2.2 สถานการณ์ด้านอาหาร ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (2566) ได้สรุปสถานการณ์ด้านอาหาร ดังนี้ ระดับโลกและภูมิภาค องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) รายงานว่า สถานการณ์ความขัดแย้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติธรรมชาติ รวมทั้งการ ชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความมั่นคงอาหารของโลกอย่างเห็นได้ชัด และมีแนวโน้มที่สถานการณ์ จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เกิดความเสี่ยงต่อความคืบหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายการขจัดความหิวโหย ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals: SDGs) จากการวิเคราะห์ของ FAO ในระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2563 ประชากรโลกร้อยละ 8.8 หรือคิดเป็น ประชากรจำนวน 690 ล้านคน กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดสารอาหาร และถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ประชากรผู้หิวโหยจะมีจำนวนถึง 840 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 โดยประชากร ผู้หิวโหยส่วนใหญ่อาศัยอยู่่ในแอฟริกา และเอเชีย เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการชะลอตัว ทางเศรษฐกิจมากที่สุด เช่น การระบาดของตั๊กแตนในแอฟริกา สถานการณ์ภัยแล้งขั้นรุนแรงในอัฟกานิสถาน แผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย เป็นต้น นอกจากปัญหาความไม่มั่นคงอาหารที่เกิดจากภัยพิบัติและการชะลอตัว ทางเศรษฐกิจแล้ว การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID - 19) ในปี พ.ศ. 2563 ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงอาหารเช่นกัน โดย FAO คาดการณ์ว่า การระบาดของ COVID - 19 ทำให้จำนวนผู้ขาดสารอาหาร เพิ่มขึ้นถึง 83 - 132 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2563 ถึงแม้จะมีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ของ COVID - 19 จะบรรเทาลงในปี พ.ศ. 2564 แต่สถานการณ์ด้านความมั่นคงอาหารจะยังคงได้รับผลกระทบในช่วงของการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม หากแต่ละประเทศไม่มีมาตรการรองรับที่เพียงพอ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตการณ์ความมั่นคงทางอาหารได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==