ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
7 จากปัญหาดังกล่าว ทำให้เป็นที่กังวลว่าทั่วโลกจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายได้ เลขาธิการแห่งสหประชาชาติจึงได้เสนอจัดการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก ( UN Food System Summit 2021: UNFSS) ในเดือนกันยายน 2564 เพื่อจัดทำแผนการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ อาหาร และพัฒนาหลักการ ( principles) เพื่อสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบ อาหารเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความมั่นคงอาหาร โดย FAO เห็นว่าจำเป็นต้องมีการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนที่เน้นการสร้างสมดุลระหว่างผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการแบบองค์รวมอย่างบูรณาการ ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงการประณีประนอมแบบ ได้อย่างเสียอย่าง ( trade - off) ด้วย นอกจากนี้ FAO ได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นภูมิคุ้มกันให้กับระบบอาหารด้วยการดำเนินการเพื่อลด ความเสี่ยงในภาวะวิกฤติ เช่น การเพิ่มการลงทุนในระบบเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ภัยพิบัติ การใช้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ( One Health Approach) ระหว่าง คน สัตว์ และพืช เพื่อป้องกัน การเกิดโรคระบาดใหม่ การใช้นโยบายประกันภัยพืชผล การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ในภาคเกษตรและอาหาร เป็นต้น ระดับประเทศ อ้างอิงจาก The Economist Intelligence Unit (EIU) ซึ่งได้ทำการศึกษาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทาง อาหารของโลก ( The Global Food Security Index, GFSI) โดยพิจารณาจากความสามารถในการซื้ออาหาร ( affordability) ความเพียงพอของอาหาร ( availability) และคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ( quality and safety) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัด ระดับความมั่นคงทางอาหารของประเทศต่างๆ และวางกรอบ การพัฒนาความมั่นคงทางอาหารของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ จากการสำรวจแนวโน้มปีต่อปีสำหรับดัชนีความมั่นคง ด้านอาหารโลกเมื่อเดือนกันยายน 2564 พบว่า ประเทศไทยมีคะแนนรวมอยู่ในลำดับที่ 51 จาก 113 ประเทศ ทั่วโลก และในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( good performance) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสถานะหรือระดับความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยสามารถประเมินได้จาก หลายปัจจัยและใช้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน ดังนี้ อัตราการพึ่ งพาตนเองด้านอาหาร ( Self - Sufficiency Ratio: SSR) เป็นตัวชี้ วัดที่ แสดงถึง ความสามารถในการผลิตอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศอย่างยั่งยืน โดยเทียบสัดส่วน ปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ในประเทศต่อผลผลิตที่ต้องใช้บริโภคภายในประเทศทั้งปี สินค้าใดที่มีค่า SSR ต่ำกว่า 100 แสดงว่า มีผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อการใช้บริโภคภายในประเทศ จากการประมวลข้อมูลของสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงาน ค่า SSR ของประเทศไทยสำหรับอาหารแต่ละชนิด เฉลี่ย 5 ปี ช่วงระหวางปี พ.ศ. 2560 - 2564 ที่มีค่า SSR เกินกว่าร้อยละ 100 ในทุกรายการ ยกเว้นมันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว มะพร้าว ปลาหมึก หอย ปลา ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ บริโภคภายในประเทศ สำหรับด้านปศุสัตว์ ยกเว้นโคเนื้อ ประเทศไทยยังมีความสามารถในการผลิตที่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ภายในประเทศทุกชนิดสินค้า ซึ่งถือได้ว่ามีความมั่นคงทางอาหารและมีความสามารถในการ พึ่งพาตนเองด้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID - 19) โดยภาคการเกษตรมีแนวโน้ม ที่มีการผลิตลดลงอันเนื่องมาจากการลดลงของพื้นที่การเกษตรและการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหาร ดังนั้น หากไม่มีการบริหารจัดการด้านการเกษตร และอาหารที่ยั่งยืนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==