ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

8 ในด้านต่างๆ แล้ว ในอนาคตจึงมีแนวโน้มว่าอาจเผชิญกับปัญหาความไม่เพียงพออาหาร การเข้าถึงอาหาร การใช้ประโยชน์อาหาร และการมีเสถียรภาพอาหาร สัดส่วนประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารต่อจำนวนประชากรทั้งหมด หรือความชุกของภาวะขาด สารอาหาร (ร้อยละ) ( Prevalence of Under - nourishment: PoU) องค์การสหประชาชาติได้ให้ คำนิยามของ “ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร ว่าเป็นค่าประมาณของสัดส่วนของประชากรที่มีการบริโภค อาหารตามปกติไม่เพียงพอต่อความต้องการพลังงานของร่างกาย ในระดับที่ร่างกาย ต้องการนำไปใช้ในการ ดำรงชีวิตตามปกติสุข ความชุกของภาวะขาดสารอาหารแสดงเป็นร้อยละของประชากรที่ ได้รับอาหาร ไม่เพียงพอต่อความต้องการพลังงานอย่างต่อเนื่อง ความชุกของภาวะขาดสารอาหารเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ใช้ ประเมินความมั่นคงทางอาหาร เพื่อหาทางให้ประชาชนได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอ ตลอดทั้งปี และนำไปสู่การยุติความหิวโหยในระดับโลก อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (ค.ศ. 2020) ค่าความชุกของภาวะ ขาดสารอาหารของประชากรไทยในช่วงปี พ.ศ. 2549 - 2559 ลดลงจากร้อยละ 10.2 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2563 ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร ของประชากรไทยค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.2 ในปี 2563 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงในประชากรไทย โดยใช้แบบประเมินประสบการณ์ ความไม่มั่นคงทางอาหาร หรือ Food Insecurity Experience Scale (FIES) เป็นการวัดจากประสบการณ์ ในระดับครัวเรือนหรือระดับบุคคลด้วยคำถาม 8 ข้อ โดยคำนวณเป็นสัดส่วนร้อยละของประชากรที่ มี ประสบการณ์เกี่ยวกับการขาดอาหาร หรือมีความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับรุนแรง โดยวัดจากความ ยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ หรือการมีรายได้น้อย หรือขาดเงินและทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งรวมถึงความกังวลทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอาหารด้วยความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหารนั้น วัดจากขนาดอ้างอิงทั่วโลกของความไม่มั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดที่กำหนดโดยองค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติผ่านการประยุกต์ใช้ FIES มากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ตัวชี้วัดตาม FIES นี้ เป็นการวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้ ในขณะที่ POU เป็นการวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายการยุติความหิวโหย อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (ค.ศ. 2020) ความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารระดับรุนแรงในประชากรไทยทุกเพศทุกวัย ในช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2562 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว กล่าวคือ จากร้อยละ 4.2 ในปี พ.ศ. 2558 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ เตชสิทธิ์ ศิรสิทธิ์พงศ์พล ( 2565 ) ได้กล่าวถึง สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและ โภชนาการของไทย ไว้ว่า สถานการณ์ความหิวโหยของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้ นอย่างต่อเนื่ อง โดยสัดส่วนประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร ( Food Poverty Line) ในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.37 จากเดิมร้อยละ 0.54 ในปี 2559 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสถานการณ์ด้านการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนกลับเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม เนื่องจากสัดส่วนความชุกของภาวะขาดสารอาหาร ( Prevalence of undernourishment) ในปี 2562 อยู่ที่ ร้อยละ 8.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 ในปี 2559 ขณะที่ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร ในระดับรุนแรง ( Prevalence of severe food insecurity in adult population) ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ในปี 2562 จากเดิมร้อยละ 5.8 ในปี 2559 อีกทั้ง ประเด็นภาวะทุพโภชนาการ ถือเป็น สิ่งที่น่ากังวลเช่นเดียวกัน เนื่องจากสัดส่วนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะเตี้ยผอมและน้ำหนักเกิน ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2559 – 2563 แต่ลดลงเล็กน้อยในปี 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==