ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

9 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการดำเนินการเพื่อให้คนไทยมีอาหารที่เพียงพอและมีโภชนาการทั่วถึงมากขึ้น อาทิ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และโครงการอาหารดีพี่ให้น้อง ซึ่งทั้งสองโครงการต่างมีเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนในถิ่นทุรกันดารหรือกลุ่มยากไร้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและครบถ้วน นอกจากนี้ ยังมีการ ดำเนินการโครงการมหัศจรรย์ 1 , 000 วันแรกของชีวิตเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพให้กับ กลุ่มผู้หญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องเร่ง แก้ไขอยู่อีกมาก อาทิ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่ถูกต้อง การจัดการเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน เนื่องจากยังพบว่าสัดส่วนพื้นที่ดังกล่าวยังน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่การเกษตรทั้งหมดในประเทศ อีกทั้ง การเพิ่ม ผลิตภาพทางการเกษตรยังต่ำ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนข้อมูลสารสนเทศ ที่จำเป็นในการวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนเพื่อเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการที่ครบถ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง รวมไปถึง การตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบเกษตรที่ไม่ทำลายสมดุลของสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกุญแจสำคัญในการ ที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมาย SDGs ได้อย่างแท้จริง 2.3 การประยุกต์ใช้ Item Response Theory ในการวัดความไม่มั่นคงทางอาหาร Item Response Theory (IRT) เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการวัดและประเมินคุณลักษณะเฉพาะของผู้ตอบ โดยอิงจากวิธีการทางสถิติที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ลักษณะที่ซ่อนอยู่ ( latent trait) ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ โดยตรง เช่น ความสามารถในการอ่าน ไม่สามารถวัดได้โดยตรงจากการทดสอบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถ ประเมินได้ผ่านผลการทดสอบการอ่านหลายครั้ง หรือทัศนคติทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจใน ที่ทำงานหรือความเชื่อทางสังคม สามารถวัดได้จากคำถามที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติและพฤติกรรมที่แสดงออก โมเดล Rasch เป็นหนึ่งในโมเดล IRT ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านสาธารณสุข การศึกษา และ จิตวิทยา โมเดลนี้มีฐานทฤษฎีและเครื่องมือทางสถิติที่ช่วยในการประเมินความเหมาะสมของชุดคำถามในแบบ สำรวจว่าเหมาะสำหรับการสร้างมาตรวัดหรือไม่ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมาตรวัดเมื่อใช้กับ ประชากรและบริบทการสำรวจที่ต่างกัน สำหรับบริบทความไม่มั่นคงทางอาหาร ( Food Insecurity) เนื่องจากความมั่นคง/ความไม่มั่นคง ทางอาหารเป็นลักษณะที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่นเดียวกับทัศนคติหรือสติปัญญา สามารถวัดได้ผ่าน พฤติกรรมหรือสัญญาณที่แสดงออกมาเท่านั้น โดย การประเมินผ่านการตอบคำถามที่ออกแบบมาเพื่อ ตรวจสอบพฤติกรรมและความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอาหาร คำถามเหล่านี้สะท้อนถึงความเสี่ยงหรือ ความไม่มั่นคงในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณภาพ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และมีโภชนาการที่ดี และความพึงพอใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการอาหาร ของตนเองหรือครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย 8 ข้อถาม ดังตารางที่ 2.1

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==