ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

10 ตารางที่ 2.1 ข้อถามประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ในรอบ 12 เดือนที่แล้ว ท่านหรือสมาชิกในครัวเรือนของท่าน … ข้อถาม ป้ายชื่อ (Label) มิติของ โครงสร้าง ความไม่มั่นคง ทางอาหาร ระดับ ความ รุนแรงที่ สมมติ 1 เคยรู้สึกกังวลหรือไม่ว่า จะไม่มีอาหารกินอย่างเพียงพอ เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถหาอาหารได้ Worried ความไม่ แน่นอนและ ความกังวล เกี่ยวกับอาหาร น้อย 2 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ การไม่ได้กินอาหารที่มี ประโยชน์หรือมีคุณค่าทางโภชนาการ เพราะไม่มีเงินซื้อ หรือไม่สามารถหาอาหารได้ Healthy คุณภาพอาหาร ที่ไม่เพียงพอ น้อย 3 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ การกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถหาอาหารได้ Fewfood คุณภาพอาหาร ที่ไม่เพียงพอ น้อย 4 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ การอดอาหารบางมื้อ เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถหาอาหารได้ Skipped ปริมาณอาหาร ที่ไม่เพียงพอ ปานกลาง 5 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ การกินอาหารในปริมาณ ที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถ หาอาหารได้ AteLess ปริมาณอาหาร ที่ไม่เพียงพอ ปานกลาง 6 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ ภาวะขาดแคลนอาหาร/ วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เพราะไม่มีเงินซื้อ หรือไม่สามารถหาได้ RunOut ปริมาณอาหาร ที่ไม่เพียงพอ ปานกลาง 7 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ ภาวะหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถหาอาหารได้ Hungry ปริมาณอาหาร ที่ไม่เพียงพอ รุนแรง 8 เคยมีช่วงเวลาที่ต้องประสบกับ การไม่ได้กินอาหารทั้งวัน เพราะไม่มีเงินซื้อหรือไม่สามารถหาอาหารได้ WholeDay ปริมาณอาหาร ที่ไม่เพียงพอ รุนแรง หมายเหตุ : ผู้สัมภาษณ์จะเน้นย้ำการใช้ข้อความ "เพราะไม่มีเงินซื้อหรือหรือไม่สามารถหาอาหารได้" เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับ คำตอบ “ เคยประสบ ” เพราะเหตุผลอื่น เช่น การอดอาหารเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพ หรือข้อปฏิบัติทางศาสนา ลักษณะสำคัญของการวัดความไม่มั่นคงทางอาหารจากประสบการณ์ คือข้อถามแต่ละข้อมีระดับ ความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหารที่แตกต่างกัน โดยระดับความรุนแรงนี้สามารถประเมินได้จาก ชุดคำถาม ตัวอย่างเช่น ข้อถาม “การไม่ได้กินอาหารเป็นเวลาทั้งวัน” จะบ่งบอกถึงความไม่มั่นคงทางอาหาร ที่รุนแรงกว่าข้อถาม “การอดอาหารบางมื้อ” และข้อถามเหล่านี้ยังมีความรุนแรงมากกว่าข้อถาม “กังวลว่า จะไม่มีอาหารกินอย่างเพียงพอ” ระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันนี้สามารถสังเกตได้จากรูปแบบการตอบ คำถามของครัวเรือนที่ได้รับจากการสำรวจ โดยทั่วไปข้อถามที่มีระดับความรุนแรงสูงกว่าจะได้รับการตอบ น้อยกว่าข้อถามที่มีระดับความรุนแรงต่ำกว่า และครัวเรือนที่ประสบความไม่มั่นคงทางอาหารที่มีระดับความ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==