ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
13 แผนภาพ The Global Standard thresholds ที่มา : FAO, Learning About 2.1.2 Indicator (2018) มาตรวัดความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหารถูกกำหนดบนความต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ภาวะความมั่นคงทางอาหาร (Food secure) จนถึงภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง (Severe food insecurity) โดยการกำหนดเกณฑ์ระดับความไม่มั่นคงทางอาหาร (Threshold) บนมาตรวัดนี้ จะเป็นจุดที่ใช้ ในการแบ่งกลุ่มระดับความไม่มั่นคงทางอาหาร หน่วยตัวอย่างรวมถึงประชากรจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากความรุนแรงของภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารของพวกเขาเกินระดับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การกำหนดตำแหน่งเกณฑ์บนมาตรวัดความรุนแรงต้องมีการกำหนดที่ คงที่ เพื่ อการติดตาม การเปลี่ยนแปลงของความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร สามารถเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ในระดับนานาชาติได้ ซึ่งจากภาพของ FIES Global Standard thresholds ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของกลุ่มข้อถามที่ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มที่แตกต่างกัน ได้แก่ " WORRIED, FEWFOODS และ HEALTHY" และ " SKIPPED, RUNOUT และ HUNGRY" ส่วนข้อถาม " ATELESS" และ " WHLDAY" อยู่ไกลออกไปจากข้อถามอื่นๆ ซึ่งแสดง ให้ เห็นถึงความแตกต่างที่ ชัดเจนในระดับความรุนแรงของความไม่มั่ นคงทางอาหาร โดยเกณฑ์แรก ถูกกำหนดที่ระดับความรุนแรงของข้อถาม " ATELESS" ( การกินน้อยกว่าที่ควร) เพื่อแบ่งกลุ่ม "ความมั่นคงทาง อาหารหรือความไม่มั่นคงทางอาหารระดับเล็กน้อย" ออกจากกลุ่ม "ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลาง" และเกณฑ์ที่สองถูกกำหนดที่ระดับความรุนแรงของข้อถาม " WHLDAY" ( การอดอาหารทั้งวัน) เพื่อแบ่งกลุ่ม "ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลาง" ออกจากกลุ่ม "ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรง" เพื่อให้ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการ ปรับเทียบ (equating) ค่าพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถาม ( item severity parameters) ของประเทศ ให้สอดคล้องกับ FIES Global Standard ผ่านการแปลงเชิงเส้น ( linear transformation) ซึ่งค่าพารามิเตอร์ของ ผู้ตอบ ( respondent parameters) และค่าความคลาดเคลื่อน ( measurement errors) จะถูกปรับด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีการปรับเทียบ สามารถสรุปขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ปรับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถาม 8 ข้อ ของประเทศ ให้สอดคล้องกับพารามิเตอร์ของ FIES Global standard โดยใช้การปรับเชิงเส้น 2. เปรียบเทียบพารามิเตอร์ข้อถามที่ได้รับการปรับระหว่างค่าประมาณพารามิเตอร์ระดับสากล กับค่าประมาณพารามิเตอร์ หากพารามิเตอร์สำหรับข้อถามใดแตกต่างกันมากเกินไป ถือว่าเป็น ข้อถามที่แสดงเงื่อนไขที่แตกต่างในประเทศนั้นจากที่เป็นอยู่ในมาตรวัดทั่วไป และจึงถือว่าเป็น “ Unique” 3. ทำการปรับเชิงเส้นซ้ำตามขั้นตอนที่ 1 โดยการปรับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อถาม ที่เป็นทั่วไป ( non-unique) และเปรียบเทียบพารามิเตอร์ที่ปรับใหม่ หากพารามิเตอร์ของข้อถามอื่นๆ แตกต่างกันมากเกินไประหว่างสองมาตรวัด ควรทำซ้ำขั้นตอนนี้อีกครั้ง การทำปรับเทียบจะถือว่า ยอมรับได้หากมีข้อถามที่ถือว่าเป็น Unique ไม่เกิน 3 ข้อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==