ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
14 4. ปรับค่า Threshold ของ FIES Global standard ให้สอดคล้องกับมาตรวัดของประเทศโดยการ ใช้ฟังก์ชันเชิงเส้นที่พัฒนาขึ้นในกระบวนการปรับเทียบกับค่า threshold ของ FIES Global standard 5. ใช้ค่า Threshold ที่ปรับแล้วในการคำนวณความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร 2.5 การประมาณค่าความชุก การประมาณค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ขั้นต้นจะต้องประมาณค่าความน่าจะเป็นของความ ไม่มั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง โดยใช้เกณฑ์กำหนดระดับความไม่มั่นคง ทางอาหาร (Threshold) บนมาตรวัดที่ปรับเทียบกับ FIES Global Standard แล้ว เป็นจุดแบ่งกลุ่มระดับ ความไม่มั่นคงทางอาหาร และคำนวณความน่าจะเป็นจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งของการแจกแจงแบบปกติ (Normal distribution) ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับพารามิเตอร์ของผู้ตอบ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับค่าความคาดเคลื่อน พารามิเตอร์ของผู้ตอบในแต่ละคะแนนดิบ (0 ถึง 8) แสดงตามภาพด้านล่างนี้ แผนภาพการแจกแจงแบบปกติ ที่มา : FAO, Learning About 2.1.2 Indicator (2018) แผนภาพการแจกแจงแบบปกติในแต่ละคะแนนดิบบนมาตรวัดความรุนแรง ที่มา : FAO, Learning About 2.1.2 Indicator (2018) จากนั้นจึงประมาณความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง ซึ่งคำนวณจากผลรวมของความน่าจะเป็นของความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับที่สนใจ คูณด้วยสัดส่วนของ ประชากรในแต่ละคะแนนดิบ (0 ถึง 8) ตามสมการด้านล่างนี้ ค่าเฉลี่ย = พารามิเตอร์ของผู้ตอบ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = ค่าความคาดเคลื่อนพารามิเตอร์ของผู้ตอบ 4 ระดับความรุนแรง คะแนนดิบ 1 2 3 5 6 7 ความน่าจะเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==