ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
17 บทที่ 3 วิธีการศึกษา 3.1 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ชุดคำถามประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร หรือ FIES survey module: FIES-SM ถูกผนวกไว้ ในตอนที่ 5 ของโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2567 ไตรมาสที่ 1 มีคาบเวลา การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2567 โดยสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน หรือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการซื้อ/ทำอาหารภายในครัวเรือนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และบันทึกประสบการณ์ ความไม่มั่นคงทางอาหารในรอบ 12 เดือนที่แล้ว ( ในรอบ 12 เดือนที่แล้ว หมายถึง ระยะเวลานับจากเดือน ก่อนเดือนสัมภาษณ์ย้อนหลังไป 12 เดือน เช่น เดือนที่สัมภาษณ์ คือ กุมภาพันธ์ 2567 ในรอบ 12 เดือนที่แล้ว คือ “กุมภาพันธ์ 2566 - มกราคม 2567”) โครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2567 เป็นการสำรวจตัวอย่าง ( sample survey method) โดยใช้แผนการเลื อกตั วอย่ างแบบ Stratified Two-Stage Sampl ing โดยมี กรุงเทพมหานครและจังหวัดเป็นสตราตัม ( Stratum) ซึ่งมีทั้งสิ้น 77 สตราตัม และในแต่ละสตราตัม (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร) แบ่งเป็น 2 สตราตัมย่อยตามลักษณะการปกครองคือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล โดยมีเขตแจงนับ ( Enumeration Area: EA) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ซึ่งในไตรมาสที่ 1 มีจำนวน 900 EA และครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 14 ,400 ครัวเรือน ( 16 ครัวเรือนตัวอย่างต่อเขตแจงนับ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ) การสำรวจในปี 2567 ของโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ใช้แบบสำรวจ สมาชิกและการใช้จ่ายของครัวเรือน (สศส. 2) โดยมีรายการข้อมูลที่เก็บรวบรวม ทั้งหมด 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สมาชิกของครัวเรือน ตอนที่ 2 ลักษณะที่อยู่อาศัย ตอนที่ 3 ค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการ ตอนที่ 4 ค่าใช้จ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ตอนที่ 5 ความมั่นคงทางอาหาร 3.2 การประมาณค่าถ่วงน้ำหนักประชากร เนื่องจากแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และการติดตามความสำเร็จ ของการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในเป้าหมายที่ 2 ได้ทำการวัดและติดตามค่าเป้าหมาย ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารปี 2570 และปี 2573 ในระดับประชากร จึงทำการประมาณค่าถ่วงน้ำหนัก ประชากร ด้วยค่าถ่วงน้ำหนักของครัวเรือนจากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยมี ขั้นตอนดังนี้ 1. ประมาณค่าถ่วงน้ำหนักประชากร โดยนำค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละครัวเรือนคูณด้วยจำนวนสมาชิก ในครัวเรือน (รวมลูกจ้างในธุรกิจของครัวเรือนและคนรับใช้) 2. คำนวณผลรวมจาก ข้อ ( 1 ) ในแต่สตราตรัมย่อย 3. จัดเตรียมค่าคาดประมาณประชากร โดยใช้ฐานจากค่าคาดประมาณประชากรที่จัดทำโดยสำนักงาน สถิติแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในแต่ละสตราตรัมย่อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==