ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

18 4. หาค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนประชากรจากค่าคาดประมาณตามข้อ (3) และจำนวนประชากรที่ได้ จากข้อ ( 2 ) ในแต่ละสตราตรัมย่อย ตามสมการดังนี้ = โดยที่ = ค่าที่ใช้ปรับค่าถ่วงนํ้าหนัก (Adjust Weight) สตราตรัมย่อยที่ i = จำนวนประชากรจากค่าคาดประมาณประชากร สตราตรัมย่อยที่ i = ผลรวมของจำนวนประชากรที่ได้จากข้อ (2) สตราตรัมย่อยที่ i 5. ประมาณค่าถ่วงน้ำหนักประชากร โดยปรับค่าที่ได้จากข้อ 1 ด้วย เพื่อใช้วิเคราะห์ในขั้นตอนถัดไป โดยค่าถ่วงน้ำหนักจะถูกนำมาใช้เมื่อต้องการประมาณค่าจากหน่วยตัวอย่างไปเป็นประชากร 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ 1. RM.weights เป็นแพ็กเกจบนซอฟต์แวร์ R ของโครงการ FAO Voices of the Hungry (VoH) เพื่อใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ต่างๆ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยข้อมูล ที่ใช้ในการวิเคราะห์สามารถอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ และคอลัมน์สามารถมีป้ายกำกับใดก็ได้ ทำให้ RM.weights เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยโปรแกรม R จะให้ค่าประมาณพารามิเตอร์จากแบบจำลอง Rasch ซึ่งนำไปใช้ร่วมกับ FIES Excel template ในการคำนวณความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร สามารถ เข้าถึงได้จาก https://www.fao.org/in-action/voices-of-the-hungry/analyse-data/en/ 2. FIES Application เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ออนไลน์ที่พัฒนาโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ ( FAO) สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับซอฟต์แวร์ R โดยต้องจัดเตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์ตาม รูปแบบที่กำหนด สามารถเข้าถึงได้จาก https://fies.shinyapps.io/ExtendedApp/ การวิเคราะห์โดยใช้ซอฟแวร์ R มีความยืดหยุ่นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถปรับแต่งการคำนวณ และการวิเคราะห์ได้ตามความต้องการ แต่อาจมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องใช้ความรู้ในการเขียน โปรแกรมและการปรับแต่งการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน รวมถึงการตั้งค่าและตรวจสอบผลลัพธ์ที่ต้องใช้ความ ละเอียดสูง ในทางกลับกัน FIES Application เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้งานง่ายและสะดวก โดยไม่จำเป็นต้อง ติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม อินเทอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและรวดเร็ว และให้ ข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ต่างๆ ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ซอฟต์แวร์ R และ FIES Application เพื่อทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จาก ทั้งสองเครื่องมือซึ่งจะช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างละเอียด และครอบคลุมขั้นตอนต่างๆ ในการประมาณ ค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร สำหรับการนำเสนอในรายงานฉบับนี้ จะนำเสนอวิธีการวิเคราะห์ โดยใช้ FIES Application 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล FIES มีดังนี้: • การประมาณค่าพารามิเตอร์ : คำนวณระดับความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหารที่สัมพันธ์ กับข้อคำถามในแบบสำรวจแต่ละข้อถามและผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคน • การตรวจสอบความถูกต้องทางสถิติ : ประเมินว่ามาตรวัดมีความน่าเชื่อถือเพียงพอสำหรับการ ใช้ในการกำหนดนโยบายและการวิจัยหรือไม่ โดยขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==