ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

22 3.4.3 การตรวจสอบความถูกต้องทางสถิติ จากที่กล่าวในบทที่ 2 เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องทางสถิติของข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติ infit outfit Residual Correlation และ Rasch reliability เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมตามเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลแสดงดังตารางด้านล่างนี้ ตารางที่ 3.5 ค่าสถิติ Infit และ Outfit ชุดคำสั่งโปรแกรม R FIES Application Infit S.E.Infit Outfit Infit S.E.Infit Outfit Worried 1.233 0.030 3.459 1.259 0.030 3.405 Healthy 0.969 0.032 0.995 0.956 0.030 1.111 Fewfood 0.807 0.031 0.810 0.804 0.029 0.788 Skipped 0.954 0.058 0.803 0.954 0.057 0.811 AteLess 0.876 0.038 0.730 0.935 0.036 0.813 RunOut 0.922 0.042 0.829 0.896 0.042 0.759 Hungry 0.950 0.060 1.249 0.933 0.060 1.038 WholeDay 1.032 0.142 0.672 1.018 0.138 0.584 จากตารางที่ 3.5 จะเห็นว่าค่าสถิติ Infit และ Outfit ที่ได้จากแพ็กเกจ RM.weights และ FIES Application มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อยในหลักทศนิยม โดยทุกค่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยกเว้น Outfit ในข้อ Worried จึงทำการตรวจสอบรูปแบบการตอบที่ผิดปกติของหน่วยตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ 1. หน่วยตัวอย่างที่ตอบ 0 ในทุกข้อ แต่ตอบ 1 ในข้อ Hungry 2. หน่วยตัวอย่างที่ตอบ 0 ในทุกข้อ แต่ตอบ 1 ในข้อ WholeDay 3. หน่วยตัวอย่างที่ตอบ 0 ในทุกข้อ แต่ตอบ 1 ในข้อ Hungry และ WholeDay เมื่อพิจารณาข้อมูล พบว่ามีหน่วยตัวอย่างที่มีรูปแบบการตอบที่ผิดปกติตามเกณฑ์ข้างต้น จำนวน 16 หน่วยตัวอย่าง ซึ่งน้อยกว่า 0.25 % ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด สามารถทำการวิเคราะห์ต่อไปได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==