ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
24 3.4.4 การปรับเทียบค่าพารามิเตอร์ เพื่อให้ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการ ปรับเทียบค่าพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถาม ( item severity parameters) ของประเทศให้สอดคล้องกับ FIES Global Standard ตามที่กล่าวในบทที่ 2 ซึ่งในทางปฏิบัติ สำหรับ FIES Excel template และ FIES Application สามารถทำการปรับเทียบได้โดยการพิจารณาความแตกต่างสัมบูรณ์ ( absolute difference) ระหว่างพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถามเพื่อระบุข้อถามใดที่มีความแตกต่างมาก หรือพิจารณาจากกราฟ ของพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถามของสองมาตรวัด จากแผนภูมิที่ 1 จะเห็นว่า “ Worried” และ “RunOut” มีความแตกต่าง (ห่างจากเส้นทแยงมุม) และเลือกข้อถามสองข้อนี้ เป็น “ Unique” ซึ่งจะเห็นว่า Correlation between the common items มีค่าเพิ่มขึ้น จาก 96.9 % เป็น 99.5 % และค่าพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถามที่ปรับเทียบแล้ว แสดงดังตารางที่ 3.7 แผนภูมิที่ 3.1 ค่าพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถามของสองมาตรวัด ก่อนและหลังการปรับเทียบ . ตารางที่ 3.7 ค่าพารามิเตอร์ความรุนแรงของข้อถามที่ปรับเทียบแล้ว ก่อน หลัง Worried -2.834 -1.679 Healthy -1.153 -1.076 Fewfood -1.387 -1.491 Skipped 1.072 0.846 AteLess -0.258 -0.217 RunOut 0.276 1.095 Hungry 1.216 1.493 WholeDay 3.355 3.291 Threshold ระดับปานกลางหรือรุนแรง Threshold ระดับรุนแรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==