ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

27 บทที่ 4 ผลการศึกษา ผลการประมาณค่าความชุกจากการใช้ซอฟต์แวร์ R ร่วมกับ FIES Excel template และ FIES Application พบว่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อย แสดงดังตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 เปรียบเทียบค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารจากชุดคำสั่งโปรแกรม R และ FIES Application ชุดคำสั่งโปรแกรม R FIES Application ระดับปานกลางหรือรุนแรง 4.40 4.40 ระดับรุนแรง 0.63 0.65 เนื่องจากค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารจากซอฟต์แวร์ R ร่วมกับ FIES Excel template และ FIES Application มีค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงแตกต่างกันเล็กน้อยในระดับจุดทศนิยม ที่ 3 ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้ผลจาก FIES Application ซึ่งสามารถสรุปผลการประมาณค่าและค่าความ คลาดเคลื่อน (90% Confidence level for margin of error) ได้ดังตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.2 ผลการประมาณค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร (%) Margin of error ระดับปานกลางหรือรุนแรง 4.40 0.73 ระดับรุนแรง 0.65 0.26 การศึกษาในกลุ่มประชากรย่อย มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจปัญหาความไม่มั่นคงทาง อาหารในมิติต่างๆ ช่วยให้สามารถระบุประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีความไม่มั่นคงทางอาหาร ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงเป้าหมาย และยั่งยืนมากขึ้น สำหรับบทนี้ เป็นการนำเสนอความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารในกลุ่มประชากรย่อยต่างๆ จำแนกตามลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ภาค เขตการปกครอง เพศของหัวหน้าครัวเรือน กลุ่มอายุของหัวหน้า ครัวเรือน สถานภาพการสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาสูงสุดที่สำเร็จ สถานภาพการทำงาน กลุ่มอาชีพ ภาคอุตสาหกรรมของผู้มีงานทำ และกลุ่มควินไทล์ด้านค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ดังต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==