ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

28 จากแผนภูมิที่ 4.1 พบว่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารมีความแตกต่างกันในแต่ละภาค โดยระดับ ปานกลางหรือรุนแรง กรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และภาคเหนือ มีความชุกสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยกรุงเทพมหานครมีความชุกสูงสุด 6.72 % ซึ่งอาจสะท้อนถึงความท้าทายความสามารถในการเข้าถึงอาหาร แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แต่ยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และค่าครองชีพที่สูง ในขณะที่ภาคกลาง ( ไม่รวม กรุงเทพมหานคร ) มีความชุกต่ำสุด 3.33% ส่วนความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรง ภาคใต้มีความชุก สูงสุด 1.08 % กรุงเทพมหานครและภาคกลางมีความชุกที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย ในขณะที่ ภาคเหนือมีความชุกต่ำสุด 0.44% เมื่อพิจารณารายเขตปกครอง จากแผนภูมิที่ 4.2 พบว่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับ ปานกลางหรือรุนแรง นอกเขตเทศบาลมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย โดยนอกเขตเทศบาลมีความชุก 4.47% ในขณะที่ในเขตเทศบาลมีความชุก 4.33% ส่วนความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารระดับรุนแรง นอกเขตเทศบาลมีความชุกสูงกว่าในเขตเทศบาลเช่นกัน โดยนอกเขตเทศบาลมีความชุก 0.69% ในขณะที่ ในเขตเทศบาลมีความชุก 0.60% การที่ประชากรที่ อยู่นอกเขตเทศบาลมีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารสูงกว่าในเขตเทศบาลในทั้งสองระดับ อาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเข้าถึงแหล่งอาหารที่จำกัดในพื้นที่นอกเขตเทศบาล ความสามารถในการซื้ออาหาร และสภาพเศรษฐกิจ ของครัวเรือนในแต่ละพื้นที่ 6.72% 3.33% 4.53% 3.92% 5.40% 4.40% ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.69% 0.66% 0.44% 0.50% 1.08% 0.65% ระดับรุนแรง 4.33% 4.47% 4.40% ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล รวม ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.60% 0.69% 0.65% ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล รวม ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.1 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามภาค แผนภูมิที่ 4.2 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามเขตการปกครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==