ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

29 เมื่อพิจารณาตามเพศ จากแผนภูมิที่ 4.3 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง เพศชายมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสูงกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมีความชุก 4 .61% ในขณะที่เพศหญิง มีความชุก 4.21 % ส่วนความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรง เพศชายมีความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารระดับรุนแรงสูงกว่าเพศหญิงเช่นกัน โดยเพศชายมีความชุก 0.69% ในขณะที่เพศหญิงมีความชุก 0.61% การที่ เพศชายมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสูงกว่าเพศหญิงทั้ งในสองระดับ อาจเกิดจาก หลายปัจจัย เช่น ความแตกต่างในเรื่องรายได้ การเข้าถึงแหล่งอาหาร และบทบาททางสังคมและครอบครัว ที่แตกต่างกัน จากแผนภูมิที่ 4.4 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละกลุ่มอายุ โดยกลุ่มอายุ 0 -14 ปี มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสูงที่สุดทั้งในสองระดับ โดยระดับปานกลางหรือรุนแรงมีความชุก 6.46% และระดับรุนแรง 0 .89% ซึ่งอาจสะท้อนถึงการมีประสบการณ์และทรัพยากรที่จำกัดในการจัดการกับปัญหา ทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีอายุมากขึ้น ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร มีแนวโน้มลดลง โดยในกลุ่มอายุ 1 5-24 ปี มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 5.77% และระดับรุนแรง 0.84% ในกลุ่มอายุ 25 -44 ปี 45-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารต่ำกว่ากลุ่มก่อนหน้า ความแตกต่างนี้อาจเกิดจากการที่กลุ่มอายุที่สูงขึ้นมีประสบการณ์และทักษะ ในการจัดการทรัพยากรและการวางแผนการใช้จ่ายที่ดีขึ้น ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาความไม่มั่นคง ทางอาหารได้ดีกว่า 4.61% 4.21% 4.40% ชาย หญิง รวม ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.69% 0.61% 0.65% ชาย หญิง รวม ระดับรุนแรง 6.46% 5.77% 3.81% 4.21% 3.59% 4.40% 0 - 14 ปี 15 - 24 ปี 25 - 44 ปี 45 - 59 ปี 60 ปีขึ้นไป รวม ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.89% 0.84% 0.51% 0.63% 0.61% 0.65% 0 - 14 ปี 15 - 24 ปี 25 - 44 ปี 45 - 59 ปี 60 ปีขึ้นไป รวม ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.3 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามเพศ แผนภูมิที่ 4.4 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามกลุ่มอายุ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==