ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

30 สถานภาพการสมรส จากแผนภูมิที่ 4.5 พบว่ามีค่าความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารแตกต่างกันอย่าง ชัดเจนในแต่ละสถานภาพการสมรส เมื่อไม่พิจารณากลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มแยกกันอยู่มีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงสูงสุด 6 .78% ในขณะที่กลุ่ มที่หย่าร้างมีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงสูงสุด 1.13% ซึ่งอาจสะท้อนถึงความท้าทายในการจัดการกับปัญหา ทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่มที่เป็นม่ายมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 4.71% และระดับ รุนแรง 0.73% กลุ่มนี้อาจได้รับผลกระทบจากการสูญเสียคู่สมรสที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการจัดการทรัพยากร สำหรับกลุ่มที่สมรส มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 3 .68% และระดับรุนแรง 0.51% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่แยกกันอยู่ หย่า หรือม่าย สะท้อนให้เห็นว่าการมีคู่สมรส อาจสามารถ ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารได้มากขึ้น กลุ่มโสดมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 4 .29% และระดับรุนแรง 0.71% ซึ่ งอยู่ ในระดับกลางๆ ความแตกต่างเหล่านี้ ชี้ ให้ เห็นถึงบทบาทของสถานภาพการสมรสและ ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร 6.46% 4.29% 3.68% 4.71% 5.24% 6.78% 4.40% ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.89% 0.71% 0.51% 0.73% 1.13% 0.83% 0.65% ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.5 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามสถานภาพการสมรส

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==