ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

31 เมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษาสูงสุดที่สำเร็จ จากแผนภูมิที่ 4.6 พบว่ากลุ่มที่ไม่เคยเรียนมีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงสูงสุด 9.45% และระดับรุนแรง 1.73% สำหรับกลุ่มที่มี การศึกษาก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 5.36% และระดับรุนแรง 0.76% ส่วนกลุ่มที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย มีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 3.93% และระดับรุนแรง 0.56% ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับ กลุ่มที่มีการศึกษาน้อยกว่า สำหรับกลุ่มที่จบการศึกษาอาชีวศึกษาและอนุปริญญา มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับ ปานกลางหรือรุนแรง 2.31% และระดับรุนแรง 0.61% กลุ่มที่จบปริญญาตรีมีความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 1.39% และระดับรุนแรง 0.11% ขณะที่กลุ่มที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญา ตรีมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงต่ำสุด 0.31% และระดับรุนแรง 0.00% ซึ่ งแสดงให้เห็นว่าการศึกษาที่สูงขึ้ นช่วยเพิ่ มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและการจัดการกับปัญหา ความไม่มั่นคงทางอาหารได้ดียิ่งขึ้น 9.45% 5.36% 3.93% 2.31% 1.39% 0.31% 0.13% 4.40% ระดับปานกลางหรือรุนแรง 1.73% 0.76% 0.56% 0.61% 0.11% 0.00% 0.00% 0.65% ระดับรุนแรง 0.99% 3.88% 2.96% 1.24% 1.53% 4.88% 4.33% 4.87% 5.20% 11.87% 6.18% 10.80% 0.35% 4.40% ระดับปานกลางหรือรุนแรง แผนภูมิที่ 4.6 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามระดับการศึกษาสูงสุดที่ สาเร็จ แผนภูมิที่ 4.7 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามสถานภาพการทางาน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==