ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

32 สถานภาพการทำงาน จากแผนภูมิที่ 8 พบว่ากลุ่มคนที่ป่วยหรือพิการจนไม่สามารถทำงานได้ มีความชุก ความไม่มั่นคงทางอาหารสูงที่สุด โดยระดับปานกลางหรือรุนแรง 11.87% และระดับรุนแรง 2.67 % สะท้อน ถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารที่สูงมากในคนกลุ่มนี้ และกลุ่มคนที่ไม่สมัครใจทำงาน เป็นกลุ่มที่มีความชุก สูงเป็นอันดับสอง โดยระดับปานกลางหรือรุนแรง 10.80% และระดับรุนแรง 1.84% แสดงให้เห็นถึงความ เปราะบางในคนกลุ่มที่ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่มั่นคง ในทางกลับกัน กลุ่มคนที่มีงานที่มั่นคงและรายได้เพียงพอ เช่น กลุ่มลูกจ้างรัฐบาล ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มนายจ้าง มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารต่ำที่สุด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีงานที่มั่นคงและรายได้ที่เพียงพอในการลดความเสี่ยงจากความไม่มั่นคง ทางอาหาร จากแผนภูมิที่ 4.8 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่ามีความแตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยกลุ่มผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐานมีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับ ปานกลางหรือรุนแรงสูงสุด 8.44% และระดับรุนแรง 1.51% รองลงมาคือกลุ่มที่ไม่ประกอบอาชีพ มีความชุก 0.17% 0.45% 0.32% 0.11% 0.00% 0.81% 0.84% 0.50% 0.73% 2.67% 1.61% 1.84% 0.01% 0.65% ระดับรุนแรง 1.54% 1.10% 2.11% 1.00% 2.80% 3.61% 4.84% 4.61% 8.44% 5.23% 4.40% 0.22% 0.02% 0.06% 0.15% 0.56% 0.39% 0.64% 0.47% 1.51% 0.81% 0.65% ทหารผู้จัดการข้าราชการระดับอาวุโสและผู้บัญญัติกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ เสมียน พนักงานบริการ และผู้จาหน่ายสินค้า ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรป่าไม้ และประมง ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน ไม่ประกอบอาชีพ รวม ระดับปานกลางหรือรุนแรง ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.8 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามกลุ่มอาชีพ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==