ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

33 ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง 5.23% และระดับรุนแรง 0.81% สำหรับกลุ่มทหาร ผู้จัดการ ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้บัญญัติกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ เจ้าหน้าที่เทคนิค และผู้ประกอบวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ และเสมียน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความชุกความไม่มั่นคง ทางอาหารต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ความแตกต่างนี้อาจเกิดจากปัจจัยด้านรายได้ ความมั่นคงในอาชีพ และสวัสดิการที่ได้รับ โดยกลุ่มอาชีพพื้นฐานมักมีรายได้น้อยและไม่แน่นอน นอกจากนี้ ลักษณะงานยังส่งผล ต่อการเข้าถึงอาหาร เช่น ผู้ทำงานในภาคเกษตรอาจผลิตอาหารได้เอง ส่วนผู้ทำงานในเมืองต้องซื้ออาหาร หรือ วัตถุดิบเพื่อประกอบอาหาร ทำให้มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในกลุ่มของผู้มีงานทำ จากแผนภูมิที่ 4.9 พบว่าผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารสูงที่สุด โดยในระดับปานกลางหรือรุนแรงอยู่ 5.05 % และระดับรุนแรง 0.69 % ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงที่สูงต่อการเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในกลุ่มคนทำงานภาคการผลิต สาเหตุอาจมาจากเรื่องของเวลาทำงาน การมีรายได้ที่ไม่แน่นอน หรือสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคง รองลงมาคือ ผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง 4.20% และ ระดับรุนแรง 0.54 % แสดงถึงความไม่แน่นอนในรายได้และผลผลิตทางการเกษตรซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพอากาศ ราคาสินค้า และความต้องการของตลาด ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผล กระทบต่อรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนทำงานในภาคเหล่านี้ และผู้ที่ทำงานในภาคบริการ และการค้า กลุ่มนี้มีความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง 3.11% และระดับรุนแรง 0.48 % ซึ่งต่ำที่สุด แสดงถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจในคนกลุ่มนี้ เนื่องจากงานในภาคบริการและการค้า มักจะมีรายได้ที่มั่นคงกว่าและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัจจัยภายนอกมากเท่ากับภาคการผลิต และเกษตรกรรม 4.20% 5.05% 3.11% 5.23% 4.40% ระดับปานกลางหรือรุนแรง 0.54% 0.69% 0.48% 0.81% 0.65% ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.9 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามภาคอุตสาหกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==