ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

34 จากแผนภูมิที่ 4.10 เป็นการจัดเรียงครัวเรือนตามค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน จากครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำไปหาสูง และแบ่งครัวเรือนเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนครัวเรือนเท่าๆ กัน ซึ่ งพบว่าความชุกความไม่มั่ นคงทางอาหารทั้ งสองระดับมีแนวโน้มลดลงตามระดับควินไทล์ที่ สู งขึ้น เมื่อพิจารณาความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง กลุ่มควินไทล์ 1 ที่มีค่าใช้จ่ายของ ครัวเรือนต่ำที่สุดมีความชุกสูงสุด 7.82% ขณะที่กลุ่มควินไทล์ 5 ที่มีค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสูงสุดมีความชุก ต่ำสุด 1.90% ส่วนความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรง กลุ่มควินไทล์ 1 มีความชุกสูงสุด 1.24% ขณะที่กลุ่มควินไทล์ 5 มีความชุกต่ำสุด 0.19% การที่ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งสองระดับลดลง ตามลำดับควินไทล์ที่สูงขึ้น อาจสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงอาหารในกลุ่มที่มี ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงและการบริโภคอาหารของครัวเรือนในแต่ละกลุ่ม อย่างชัดเจน 7.82% 5.46% 4.37% 2.47% 1.90% 4.40% 1 2 3 4 5 รวม ระดับปานกลางหรือรุนแรง 1.24% 0.80% 0.61% 0.41% 0.19% 0.65% 1 2 3 4 5 รวม ระดับรุนแรง แผนภูมิที่ 4.10 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร จาแนกตามกลุ่มควินไทล์ด้านค่าใช้จ่ายของครัวเรือน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==