ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
35 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทาง อาหาร ( Food Insecurity Experience Scale: FIES) เป็นตัวชี้วัดที่วัดร้อยละของประชากรผู้ซึ่งประสบกับ ความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง ระหว่างช่วงเวลาอ้างอิง โดยระดับ ความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหาร ถูกนิยามว่าเป็นคุณลักษณะที่ซ่อนอยู่ ( Latent Trait) ถูกวัดโดย ใช้ ระบบการวั ดอ้ างอิ งระดั บโลกที่ เรี ยกว่ า เกณฑ์การวั ดประสบการณ์ความไม่ มั่ นคงทางอาหาร ( Food Insecurity Experience Scale: FIES) ซึ่งเป็นวิธีการวัดมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดย FAO โดยได้มีการ นำไปใช้ครั้ งแรกในปี พ.ศ. 2557 และมีการประยุกต์ใช้ชุดคำถาม FIES มากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ข้อได้ เปรี ยบของการประยุกต์ ใช้ชุดคำถาม FIES ในการวั ดความไม่มั่ นคงทางอาหารของประชากร คือ มีความสะดวกในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและใช้ต้นทุนต่ำ จากการวิจัยของ FAO ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี พบว่าการขาดแคลน การเข้าถึงอาหารส่งผลให้เกิดประสบการณ์และสภาวะที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและบริบททางเศรษฐกิจ และสังคม ตั้งแต่ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการจัดหาอาหารให้เพียงพอ ไปจนถึงการจำเป็นต้องลด คุณภาพหรือความหลากหลายของอาหารที่บริโภค หรือแม้กระทั่งการถูกบังคับให้ลดปริมาณอาหารลง หรือข้ามมื้ออาหารนั้นไป และในสภาวะที่รุนแรงที่สุด คือความรู้สึกอดอยากและขาดแคลนอาหารตลอดทั้งวัน ซึ่งสภาวะเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนามาตรวัดความไม่มั่นคงทางอาหารที่อ้างอิงจากประสบการณ์ ของบุคคล โดยมีการใช้กระบวนการทางสถิติที่ เหมาะสมตามทฤษฎีการตอบสนองต่อข้อคำถาม ( Item Response Theory) เพื่อประเมินระดับความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ได้จากระบบการวัดนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการคำนวณและการวิเคราะห์ความชุกความ ไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบระหว่างประเทศได้อย่างมีมาตรฐานและมีความ สอดคล้องกับทฤษฎีทางสถิติ โดยความรุนแรงของสภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารที่วัดได้จากตัวชี้วัดนี้ จะสะท้อนโดยตรงถึงระดับของความไม่สามารถเข้าถึงอาหารของครัวเรือนหรือบุคคล ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำของผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการออกแบบการสำรวจ การเก็บข้อมูลภาคสนาม และการ วิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของแบบจำลอง Rasch ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เริ่มต้นการศึกษาและจัดทำค่าตัวชี้วัดความชุกความ ไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ( Food Insecurity Experience Scale: FIES) ผ่านชุดคำถามมาตรฐาน FIES จำนวน 8 ข้อ ซึ่งถูกผนวกไว้ในโครงการ สำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อครัวเรือนในประเทศไทย พ.ศ. 2565 สำหรับในปี พ.ศ. 2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผนวกชุดคำถาม FIES เข้าไว้ในโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2567 สำหรับการวิเคราะห์ค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในปี พ.ศ. 2567 โดยในบทนี้ ได้เสนอผลการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2567 เพื่อแสดงให้เห็นแนวโน้มของ สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร ในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 90%
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==