ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร
37 สะท้อนถึงสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลลัพธ์จากความมุ่งมั่นใน การขับเคลื่อนแผนนโยบายด้านอาหารและเกษตร โดยการดำเนินงานโครงการในยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร ภายใต้แผนปฏิบัติการ/แผนขับเคลื่อนฯ มีเป้าหมายหลักในการเพิ่มความ มั่นคงทางอาหาร เพื่อลดการขาดแคลนอาหารและความไม่มั่นคงทางอาหารในประชากร เช่น การขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 ( พ.ศ. 2566-2570) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารในระดับครัวเรือน และชุมชนเมือง/ชนบท มีการดำเนินงานด้านการเพิ่มการเข้าถึงอาหาร โดยส่งเสริมการผลิตและการจัดการอาหารในระดับครัวเรือน และชุมชน เพื่อลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกและสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร/กลยุทธ์ที่ 8 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอด ห่วงโซ่อาหาร มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและเฝ้าระวังที่มีมาตรฐานและครอบคลุม ทั้งเรื่องของเกษตรกร ข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรม และการเฝ้าระวังภาวะวิกฤต เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่ม ความสามารถในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร หรือแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560-2580 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) มีเป้าหมายและตัวชี้วัดเกี่ยวกับ ลดการเกิดการสูญเสียอาหาร ( Food loss) และของเสียอาหาร ( Food waste) และบรรลุการมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ( SCP 3) โดยมีมาตรการสำคัญและกลไกสนับสนุนที่ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของประชากร ตั้งแต่กระบวนการ ผลิตตลอดห่วงโซ่จนถึงการบริโภคอาหาร หรือแม้กระทั่งแผนขับเคลื่อนการลดการสูญเสียในห่วงโซ่การผลิต 2566-2570 ซึ่ งมีการดำเนินงานด้านการลดการสูญเสียอาหารในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิต โดยมี มาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการแปรรูป ให้สามารถลด การสูญเสียอาหารที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลลัพธ์สำหรับการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างเพียงพอ 5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อมูลจากการศึกษาความไม่มั่นคงทางอาหารในกลุ่มประชากรย่อยมีความสำคัญในการเข้าใจปัญหาใน มิติต่างๆ เช่น ภูมิภาค เขตการปกครอง เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สถานภาพการทำงาน อาชีพ และค่าใช้จ่ายของครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถระบุประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหา ความไม่มั่นคงทางอาหาร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มมาก ดังนี้ 1. สนับสนุนการวางแผนเชิงพื้นที่ ควรกำหนดนโยบายที่เน้นเฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในภูมิภาคหรือเขตที่มีความไม่มั่นคงทางอาหารสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาโครงการสนับสนุนด้านอาหารได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและการจ้างงาน ควรมีนโยบายที่ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษา ของหัวหน้าครัวเรือน รวมถึงการสร้างโอกาสในการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคอาชีพที่มี รายได้ต่ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพที่เปราะบาง กลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคงควรได้รับการ สนับสนุนผ่านการฝึกอบรมด้านทักษะอาชีพ และการสนับสนุนด้านการเงินในการประกอบอาชีพ เพื่อลดความเสี่ยงของโอกาสในการเกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร 4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว โดยการเก็บ ข้อมูลควรรวมถึงกลุ่มประชากรย่อยที่สำคัญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==