ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร โดยใช้เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

i คำนำ ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs) เป้าหมายที่ 2 หรือ SDG 2: Zero Hunger เพื่อยุติความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบภายในปี 2573 เป้าหมายนี้มีความสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ และสนับสนุนเกษตรกรรม ที่ยั่งยืน เพื่อรับประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี การวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความไม่มั่นคง ทางอาหารในปัจจุบัน และระดับความรุนแรงของปัญหา รวมถึงวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ในกลุ่มประชากรย่อยต่างๆ ทำให้สามารถระบุพื้นที่หรือกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคง ทางอาหาร อันมีส่วนสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญ สนับสนุนการวางแผน และการจัดสรรทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลการศึกษาที่ได้ คือตัวชี้วัดความชุกความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากร ในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง สามารถนำไปใช้ประกอบการรายงานผลเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 2 และประกอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขอขอบคุณองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO) เป็นอย่างยิ่ งที่ ให้คำปรึกษาทางวิชาการ ในการวิเคราะห์ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร และพัฒนา เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสำหรับการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ ทำให้ผลการศึกษาครั้งนี้มีความถูกต้อง ตามหลั กวิ ชาการสามารถนำไปใช้ อ้ างอิ งได้ และนำไปใช้ ในการวางแผน ในการขับเคลื่ อนนโยบาย ด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และขอขอบคุณคณะกรรมการขับเคลื่ อน ด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาค่าความชุกความ ไม่มั่นคงทางอาหาร สำหรับใช้ในการรายงานเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายในระดับประเทศและระดับ สากลต่อไป กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==