รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

9 วิธีการคำนวณอัตราการว่างงาน อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน 100 กำลังแรงงานรวม i. สาเหตุของการว่างงาน การว่างงานที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกัน อันเกิดจากความเปลี่ยน แปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และตลาดแรงงาน สำหรับสาเหตุการว่างงานที่สำคัญ ๆ อาจจำแนก ได้ 2 ประการคือ (สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์ และภาวนา พัฒนศรี , 2538: 11-14) 1. สาเหตุการว่างงานที่เกิดจากปัจจัยภายใน สำหรับปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะว่างงานนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับเหตุผลเฉพาะตัวบุคคล คือ 1.1. การจงใจหรืออาจเรียกได้ว่าว่างงานโดยสมัครใจ ( Voluntary Unemployment ) คือ ผู้ที่ประสงค์จะทำงานแต่จงใจเป็นผู้ว่างงาน เพราะไม่ปรารถนาที่จะทำเนื่องจากไม่พอใจในค่าจ้าง และสภาพการทำงาน 1.2. ความบกพร่องในการปรับตัวให้เข้ากับงานที่ทำ มีผลมาจากการที่บุคลิกมีความ ผิดปกติทางจิตใจ มีความบกพร่องทางร่างกาย ความบกพร่องทางสังคมของบุคคล 1.3. เพศ ลักษณะงานบางอย่างก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้สมควรเข้าทำงาน รวมทั้ง ภาวะการเบี่ยงเบนทางเพศ 1.4. ความพิการ กลุ่มคนพิการมักจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับสุดท้าย หรืออาจไม่ได้ รับการพิจารณา ถ้าสังคมนั้นขาดกฎหมายรองรับที่จะให้ความคุ้มครองคนพิการในด้านการประกอบ อาชีพ 1.5. อายุ เด็กและเยาวชนอาจไม่ได้รับการจ้างให้ทำงานทั้งในแง่วุฒิภาวะการศึกษาและ เงื่อนไขอื่น ๆ ทางกฎหมายที่ห้ามมิให้กลุ่มดังกล่าวทำงานบางประเภท โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ เครื่องจักร งานอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น 1.6. ผู้ที่มีโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์มักถูกเลิกจ้าง ฉะนั้น การที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อและผู้ที่ เป็นพาหะนำเชื้อเอดส์ จึงถือได้ว่าโรคนี้มีผลต่อการว่างงานได้ด้วยเช่นกัน 1.7. การเลือกงาน การที่บุคคลบางกลุ่มเลือกงาน โดยขาดการประเมินความสามารถของ ตนเองย่อมทำให้เสียโอกาสในการมีงานทำ 1.8. ผู้ที่มีฐานะยากจน เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีโอกาสในการมีงานทำ เพราะมีข้อจำกัด หลายด้าน ทั้งในด้านการศึกษา และการเข้าถึงบริการจัดหางาน และตามข้อเท็จจริงกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ ประสบกับภาวะการว่างงานที่นานกว่ากลุ่มอื่นฃ 1.9. ระดับการศึกษา ทัศนคติต่อการศึกษามีผลทำให้เกิดการว่างงานได้ ถ้าผู้ที่ได้รับ การศึกษาในแต่ละระดับมีทัศนคติต่องานที่ต้องการทำในทางที่ไม่ถูกต้องภูมิลำเนาผู้ที่อยู่ในกำลัง แรงงานเป็นจำนวนไม่น้อยที่พยายามรอคอยงานอยู่ต่างถิ่นโดยมุ่งหวังว่าจะไม่กลับภูมิลำเนาในทาง ตรงกันข้าม บางส่วนกลับรอคอยงานที่สามารถจะกลับสู่ภูมิลำเนาได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==