รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

10 2. สาเหตุการว่างงานที่เกิดจากปัจจัยภายนอก 2.1. ปริมาณกำลังแรงงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างไม่ได้สัดส่วนกับความต้องการกำลังแรงงาน ของตลาดแรงงาน 2.2. ความต้องการของตลาดแรงงาน ภาวะความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขา อาชีพ 2.3. ระบบการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ระบบการเรียนการสอน รวมทั้ง การเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเรื่องการศึกษา 2.4. การส่งเสริมการลงทุน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในยุคโลกาภิ วัตน์ มีผลต่อการเปิดโอกาสให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มอัตราการจ้างงาน 2.5. ภัยแล้งซึ่งเกิดจากธรรมชาติมีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรไปสู่ ภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการว่างงานในช่วงการหางานทำ 2.6. แนวโน้มการปลดคนงาน เนื่องมาจากการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในระบบการ ผลิตโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน 2.7. ภาวการณ์แข่งขันทั้งในระดับโลกและประเทศ การที่สถานประกอบการต่าง ๆ พยายามที่จะลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2.8. ภาวะค่าครองชีพที่สูงมากขึ้น มีผลทำให้ผู้ที่มีรายได้ไม่พอเพียงต้องขวนขวายหางาน ใหม่ทำให้เกิด “ภาวะการว่างงานชั่วคราว” ขึ้น 2.9. งานที่ขาดเสถียรภาพจากการที่ภาวะทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรม การผลิตไปสู่ฐานในการบริการนั้น งานที่ทำมักขาดความมั่นคงเนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตไปสู่ที่ที่ มีการลงทุนต่ำ การว่างงานเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่าง ๆ กันไป ซึ่งอาจแบ่งประเภทการว่างงานได้ 6 ประเภท ดังนี้ (สมศักดิ์ สามัคคีธรรม , 2538: 193) 1. การว่ างงานเนื่ องมาจากอุปสงค์มวลรวมมี ไม่ เพียงพอ ( Deficient Demand Unemployment ) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสินค้าเหลือ/ล้นตลาด ทำให้ นายทุนต้องลดการผลิตและปลดคนงานออก ก่อให้เกิดการว่างงานระยะสั้นที่เกิดจากวัฏจักรของ เศรษฐกิจ ( Cyclical Unemployment ) กับการว่างงานระยะยาวที่เกิดจากผลความเจริญเติบโต ทาง เศรษฐกิจไม่เพียงพอ ( Growth - Gap Unemployment ) 2. การว่างงานเพราะความฝืดของกลไกตลาดแรงงาน ( Frictional Unemployment ) คือ การว่างงานอันเนื่องมาจากบุคคลเปลี่ยนงานเดิม โดยกลุ่มนี้จะมีการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานงาน ใหม่อีก ถือเป็นการว่างงานระยะสั้นซึ่งสามารถศึกษาได้จากอัตราการเข้าออกของสถานประกอบการ 3. การว่างงานเพราะโครงสร้าง ( Structural Unemployment ) เป็นการว่างงานที่เกิด ขั้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดแรงงานมิได้มีเพียงตลาดเดียว แต่ประกอบด้วยตลาดย่อย ๆ เป็นจ ำนวน มากจึงมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากตลาดแรงงานแห่งหนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่ง จึงทำให้เกิดการว่างงาน เพราะโครงสร้างขึ้น 4. การว่างงานตามฤดูกาล ( Seasonal Unemployment ) ได้แก่ การว่างงานที่เกิด จากการรอฤดูกาลเกษตร พบมากในการทำงานภาคเกษตรกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==