รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

11 5. การว่างงานแอบแฝง ( Disguised Unemployment ) หมายถึง สภาพที่มีแรงงาน ส่วนเกินทำให้ผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน ( Marginal Product of Labour ) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียง กับศูนย์หรือเท่ากับอัตราค่าจ้างพอยังชีพ ดังนั้น ในสาขาเศรษฐกิจที่มีการว่างงานแอบแฝง จะสามารถ ลดจำนวนแรงงานบางส่วน หรือโยกย้ายแรงงานออกจากสาขาเศรษฐกิจนั้น โดยไม่ทำให้ผลผลิตลดลง แต่อย่างใด 6. การทำงานต่ำระดับ ( Underemployment ) หมายถึง แรงงานที่ประกอบธุรกิจให้ ครัวเรือน ซึ่งมีจำนวนมากเกินไปเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมกับแรงงานในการผลิต แรงงานส่วนเกินนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น ฉะนั้นถ้าลดแรงงานส่วนเกินออก ผลผลิตรวมจะไม่ ลดลง อย่างไรก็ตาม SNA ให้ข้อคิดว่า การทำงานต่ำระดับครอบคลุมถึงลักษณะที่เป็นการว่างงาน บางส่ วน ( Partial lack of work ) ได้ รั บรายได้ ต่ำ ( Low employment income ) ใช้ ทั กษะต่ำ ( Under utilization of skill ) หรือผลผลิตต่ำ ( Low Productivity ) McConnell et al (1999) ได้อธิบาย 3 สาเหตุหลักของการว่างงานดังต่อไปนี้ 1. Frictional unemployment เป็นการว่างงานที่เกิดจากความไม่พอดีกันระหว่างผู้ ว่างงานที่กำลังหางานที่ต้องการไม่ได้กับนายจ้างที่ยังหาลูกจ้างมาเติมเต็มตำแหน่งงานที่ว่างได้ แม้ว่า ลูกจ้างจะมีทักษะตามที่นายจ้างต้องการก็ตาม รวมทั้งอุปสงค์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจเอื้อต่อการ จ้างงานทั้งหมดในตลาดแรงงานก็ตาม สาเหตุของการว่างงานประเภทนี้มาจากทั้งฝ่ายผู้ว่างงานและ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้ว่างงานมี 5 สาเหตุหลักคือ 1.1 ผู้ว่างงานลาออกจากงานเดิมเพื่อหางานใหม่ 1.2 ผู้ว่างงานถูกปลดออกจากงานเดิม 1.3 ผู้ว่างงานเป็นแรงงานที่เริ่มต้นเข้าสู่กำลังแรงงานเป็นครั้งแรก 1.4 ผู้ว่างงานเป็นแรงงานที่กลับเข้าสู่กำลังแรงงานอีกครั้งหลังจากที่ออกไปจาก กำลังแรงานเป็นระยะเวลาหนึ่ง 1.5 ย้ายงานจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่งภายในระยะเวลาหนึ่ง (เช่น 30 วัน) ส่วนฝ่ายนายจ้างมี 3 สาเหตุหลักคือ 1) นายจ้างต้องการเลือกผู้สมัครงานที่เหมาะสมแทนลูกจ้างที่ลาออกไป 2) นายจ้างปลดลูกจ้างบางส่วนออกเพื่อรับลูกจ้างใหม่ที่ดีกว่า 3) นายจ้างรับสมัครลูกจ้างเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายกิจการ 2. Structural unemployment เป็นการว่างงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงใน องค์ประกอบของอุปสงค์และอุปทานของแรงงาน จนทำให้อุปสงค์ของแรงงานไม่สอดคล้องกับอุปทาน ของแรงงาน องค์ประกอบในที่นี้มิใช่เป็นเรื่องของปริมาณของแรงงานแต่เป็นเรื่องของคุณภาพแรงงาน องค์ประกอบที่ไม่สอดคล้องกันสองประเภทที่พบกันมากคือ 1) ทักษะของแรงงานไม่สอดคล้องกับทักษะที่นายจ้างต้องการ 2) สถานที่ที่มีแรงงานว่างงานไม่สอดคล้องกับสถานที่ที่ทำงานของนายจ้า งที่ ต้องการแรงงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==