รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

12 3. Demand-deficient unemployment เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นจากสภาวะถดถอย ของระบบเศรษฐกิจ โดยมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก ซึ่งทำ ให้หน่วยธุรกิจปลดคนงานออกเป็นจำนวนมาก การว่างงานประเภทนี้มักทำให้มีอัตราการว่างงานสูง กว่าการว่างงานประเภทอื่น ๆ ในบางครั้ง นักวิชาการจะเรียกการว่างงานประเภทนี้ว่าเป็นการวางงาน ตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ( cyclical unemployment ) McConnell et al (1999) ได้อธิบายเพิ่มเติ่ม ลักษณะและกลไกของการว่างงานประเภทนี้ โดยความสำคัญอยู่ตรงที่ว่าเมื่ออุปสงค์ของแรงงานลดลง จากอุปสงค์ต่อสินค้าที่ลดลง ทำให้หน่วยธุรกิจไม่ต้องการจ้างแรงงานจำนวนเท่าเดิมในค่าจ้างระดับ เดิม หากลไกตลาดแรงงานทำงานอย่างสมบูรณ์ ค่าจ้างที่ลดลงน่าจะทำให้เกิดสมดุลของอุปสงค์ แรงงานและอุปทานของแรงงานใหม่ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการว่างงานขึ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าค่าจ้าง ในตลาดแรงงานมักจะเผชิญการต่อต้านลดลง ( rigid downward ) นั่นคือ แรงงานส่วนใหญ่ยังคง เรียกร้องให้คงค่าจ้างไว้ ซึ่งสามารถทำได้ในกรณีที่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง หรือในกรณีที่รัฐบาลเข้า แทรกแซงค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ หน่วยธุรกิจต้องปลดคนงงานจำนวนมากออกเพื่อ รักษาความแตกต่างของรายรับที่ลดลงเนื่องจากการจำหน่ายสินค้าได้น้อยลงและรายจ่ายที่ลดลง เนื่องจากการปลดคนงานให้เหลือจำนวนน้อยลง 2.2.3 ทฤษฎีที่อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการว่างงาน จากการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการว่างงาน พบว่า มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวน มากที่มีผลต่อการว่างงานหรืออัตราการว่างงานของแต่ละประเทศ โดยผลการทบทวนสามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้ 1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP ) Okun ’ s law เป็นกฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงานและผลผลิต กฎนี้ กล่าวว่า ทุก ๆการลดลงร้อยละ 1 ของอัตราการว่างงาน จะทำให้ GDP ( Gross Domestic Product ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และ GNP ( Gross National Product ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ที่ตรง ข้ามกันระหว่างอัตราการว่างงานกับ GDP และ GNP อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์เชิงลบนี้จะ สามารถใช้ได้กับทุกประเทศ เนื่ องจากเมื่ อเศรษฐกิจขยายตัว ความต้องการแรงงานจึงมากขึ้น ผู้ประกอบการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง แต่ค่าสัมประสิทธิ์ของ Okun จะ เปลี่ยนไปในแต่ละประเทศขึ้นกับสภาพของเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ (Kim et al, 2019) 2) เงินเฟ้อ ทฤษฎีสำคัญที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงานและเงินเฟ้อ คือเส้นโค้ง ฟิลลิปส์ ( Philips Curve ) ซึ่งเป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานที่ บ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์นี้กล่าวว่า เศรษฐกิจโดยทั่วไปอยู่ในภาวะที่ต้องเลือก ( trade - off ) ระหว่างเศรษฐกิจดี อัตราการว่างงานต่ำ กับภาวะเงินเฟ้อสูง ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี การว่างงานสูง เงิน เฟ้อมักจะปรับลดลง อย่างน้อยในระยะสั้น ตามอุปสงค์ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม Milton Friedman และ Edmund Phelps กล่าวว่าการชดเชยระหว่างเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวหรือ ในระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาว เมื่อแรงงานพบว่า แม้ค่าแรงจะเพิ่มขึ้น แต่ราคาของสินค้าก็แพงขึ้นด้วย หรือกล่าวได้ว่าค่าจ้างที่แท้จริงไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่คิด แรงงานก็จะปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อของตัวเอง ขึ้น และเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้น หรือลดการทำงานลงที่ค่าจ้างระดับเดิม ทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==