รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

13 สุดท้ายเงินเฟ้อก็จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่การว่างงานเพิ่มกลับขึ้นไปอยู่ที่ระดับอัตราธรรมชาติของการ ว่างงาน ( Natural rate of unemployment ) ( กฤษฎา สัตยวินิจ , 2555 ) 3) จำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงของอัตราการว่างงานอาจมีความเกี่ยวข้องกับการเติบโตของ ประชากร กล่าวคือ หากไม่มีการควบคุมประชากรของประเทศอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหา การว่างงาน จากการดูดซับของการจ้างงานที่มีจำกัด ส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมกันในการกระจาย รายได้ให้กับประชากรในประเทศนั้น สอดคล้องกับทฤษฎีประชากรของมัลธัส ( Malthus Population Theory ) ที่อธิบายการเติบโตของประชากรว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดจะเพิ่มการเติบโตของประชากรแบบ ทวีคูณ ( exponential ) จากข้อมูลของมัลธัสการตรวจสอบการป้องกัน ( preventative check ) และ การตรวจสอบเชิงบวก ( positive check ) เช่น โรคและสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตและการทำงาน ที่ ไม่ดีอาจลดการเติบโตของอัตราประชากรของประเทศได้ ดังนั้นมัลธัสคาดว่าการเติบโตของ ประชากรที่ไม่มีการควบคุมจะทำให้เกิดการว่างงานที่สูงขึ้น ( Maqbool et al, 2013 ) 2 . 2 .4 ทฤษฎีการแสวงหางานทำและการว่างงาน นักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสิค ( Neoclassical school ) เช่น ฟรีดแมน ( Friedman ) และเฟลปส์ ( Phelps ) ได้เสนอแนวคิดเรื่องการว่างงาน โดยเชื่อว่าในระบบเศรษฐกิจจะมีอัตราการ ว่างงานตามธรรมชาติอยู่อัตราหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดโดยความฝืดตัวของตลาดแรงงาน (หรือการว่างงานฝืด) และการว่างงานเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายบริหารอุปสงค์มวลรวมแบบขยายตัว อาจมีผลช่วยลดอัตราการว่างงาน ลงต่ำกว่าอัตราตามธรรมชาติเฉพาะในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะ ยาวเมื่อคนงานมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลการดำเนินนโยบายการเงินการคลังแบบขยายตัว คนงานจะ สามารถปรับปรุงพฤติกรรมการเสนอขายแรงงานของตนอย่างถูกต้อง ทำให้อัตราการว่างงานกลับเข้า สู่อัตราธรรมชาติอย่างเดิม ดังนั้น ตามแนวคิดนี้การไม่มีงานทำ ( Non - employment ) จะมี 3 ประการ คือ 1) การไม่มีงานทำเพราะผลแห่งการตัดสินใจของครัวเรือนที่ไม่ต้องการให้สมาชิกบาง คนทำงานในตลาดแรงงาน 2) การว่างงานในรูปของการลงทุนแสวงหางานทำ 3) การว่างงานเพราะความบกพร่องในตลาดแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิค จึงนำเอาทฤษฎีการแสวงหางานทำมาอธิบาย อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ ทฤษฎีนี้อธิบายว่าการที่คนงานต้องแสวงหางานทำและนายจ้างต้อง แสวงหาลูกจ้างที่ดีเพราะเหตุผล 2 ประการคือ 1) งานแต่ละอย่างในตลาดแรงงานแตกต่างกันมากเช่น งานบางอย่างต้องใช้สติปัญญา บางอย่างต้องใช้ฝีมือ บางอย่างต้องใช้กำลัง เป็นต้น คนงานก็ล้วนแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้านแต่ คนงานมักไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ตนต้องการทำว่ามีอยู่ที่ไหน เงื่อนไขการจ้างเป็นอย่างไร ฉะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก คนงานจึงต้องยอมสละเวลา (คือยอมว่างงาน) และ รายได้เพื่อหางานทำ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==