รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

14 2) เนื่องจากการหางานทำและการคัดเลือกคนงานย่อมมีค่าใช้จ่ายสูง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่จมหายไปไม่มีวันได้คืนมา ( Sunk cost ) ดังนั้น ถ้าคนงานต้องการยึดงานใดเป็นอาชีพ นาน ๆ เขาย่อมต้องลงทุนแสวงหางานค่อนข้างนาน จนกว่าจะแน่ใจว่าได้งานดี มิฉะนั้น จะเสีย ค่าใช้จ่ายไปโดยไม่คุ้ม ทฤษฎีการแสวงหางานทำอธิบายถึงการเข้าสู่ตลาดแรงงานในรูปของการมีงานทำ โอกาสที่จะได้ทำงานและการว่างงาน สืบเนื่องจากความพร้อมและทักษะความสามารถในการหางาน และอธิบายถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีงานทำและทักษะในการหางาน ได้แก่ การรับข่าวสาร แรงงาน โอกาสมีงานทำ ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าในสภาพที่ตลาดแรงงานมีการให้ข่าวสารข้อมูลน้อย ทั้ง นายจ้างและแรงงานขาดความรู้เกี่ยวกับโอกาสของการจ้างงานในตลาดแรงงาน ผู้ที่หางานทำมักจะไม่ เลือกงานแรกที่ได้รับการเสนอเนื่องจากขาดข้อมูลเปรียบเทียบ จึงมักใช้เวลาหางานอื่นและข้อมูลอื่น ประกอบ การใช้เวลาเพื่อจะหางานทำนี้จึงนับเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งของผู้หางานทำในกรณีนี้การ ว่างงานจะเกิดขึ้นเพราะปัญหาการขาดประสิทธิภาพของตลาดแรงงานในการให้ข่าวสารข้อมูลที่ ชัดเจนและกว้างขวางพอที่จะทำให้ผู้หางานและผู้จ้างงานพบกันในเวลาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อสรุปของทฤษฎีนี้คือ การว่างงานไม่ได้เกิดจากปัญหาความไม่สมัครใจเพียงอย่าง เดียวและอาจเป็นไปได้ที่การว่างงานเป็นจำนวนมากเป็นการว่างงานชั่วคราว และเป็นไปโดยสมัครใจ เพราะใช้เวลาว่างหางานทำถือเป็นการลงทุนเพื่อผลในอนาคต และปัจจัยที่สำคัญที่จะมีผลต่อการ ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดแรงงานก็คือ ระบบข่าวสารแรงงานที่ได้รับ อัตราค่าจ้างที่พอใจทักษะในการ ทำงานและฐานะทางเศรษฐกิจ 2 . 2 . 5 ทฤษฎีการจ้างงานของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค ทฤษฎีการจ้างงานของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคมีความเห็นว่า ระดับการจ้าง งานถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานแรงงาน ระดับการจ้างงานจะมีความสัมพันธ์ตรงกับระดับ ผลผลิต กล่าวคือ ถ้าระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้น ระดับผลผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย หรือถ้าระดับการจ้างลดลง ระดับผลผลิตก็จะลดลงด้วย หรือถ้าระดับการจ้างคงที่ ระดับผลผลิตจะคงที่ นั่นคือระดับผลผลิตจะ ขึ้นอยู่กับระดับการจ้างเท่านั้น 1) อุปสงค์แรงงาน ( Demand for Labour ) อุปสงค์แรงงาน ( Demand for Labour ) หมายถึง จำนวนความต้องการแรงงาน ซึ่ง สำนักคลาสสิคเชื่อว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราค่าจ้างที่แท้จริง กล่าวคือ ถ้าระดับ อัตราค่าจ้างสูง ผู้ผลิตมีอุปสงค์แรงงานน้อย แต่ถ้าอัตราค่าจ้างแท้จริงต่ำ อุปสงค์แรงงานก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นลักษณะเส้นอุปสงค์ในสินค้าธรรมดทั่วไป คือเส้นลาดลงจากซ้ายไปทางขวา ดังภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==