รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย
16 3) อัตราค่าจ้างดุลยภาพ นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคมีความเห็นว่า อุปสงค์และอุปทานแรงงาน เป็น ปัจจัยกำหนดระดับการจ้างงานและอัตราค่าจ้างและอัตราค่าจ้างที่แท้จริง ณ จุดตัดของเส้นอุปสงค์ และอุปทานแรงงาน ดังแสดงในภาพ ภาพแสดงอัตราค่าจ้างดุลยภาพ เส้นอุปสงค์แรงงานตัดกับเส้นอุปทานแรงงาน ณ จุด E ระดับอัตราค่าจ้างที่แท้จริง เท่ากับ OW และระดับการจ้างงานเท่ากับ OQ ณ ระดับอัตราค่าจ้างและระดับการจ้างงานดังกล่าว เป็นระดับอัตราค่าจ้างดุลยภาพและระดับการจ้างงานดุลยภาพ กล่าวคือ ถ้าระดับอัตราค่าจ้างและ ระดับการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปจากระดับดุลยภาพแล้ว ก็จะปรับตัวเข้าสู่ระดับอัตราค่าจ้างและ ระดับการจ้างดุลยภาพในที่สุด เช่น ถ้าอัตราค่าจ้างสูงขึ้นชั่วคราว สมมติ ณ OW 1 จะเกิดอุปทาน แรงงานส่วนเกิน ณ ระดับอัตราค่าจ้างนั้น แรงงานที่ว่างอยู่จะแข่งขันกันเสนอตัวเข้าทำงานในอัตรา ค่าจ้างที่ต่ำลง ณ ระดับ OW ซึ่งจำนวนอุปสงค์แรงงานจะเท่ากับอุปทานแรงงานพอดี หรือถ้าอัตรา ค่าจ้างที่ลดต่ำลงกว่าอัตราค่าจ้างดุลภาพ สมมติ ณ ระดับ OW 2 ก็จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้นใน ตลาดแรงงาน การขาดแคลนแรงงานทำให้ผู้ผลิตเสนออัตราค่าจ้างสูงขึ้นจนถึงระดับ OW ซึ่งจำนวน อุปสงค์แรงงานเท่ากับอุปทานแรงงาน อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างดุลภาพ ที่ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานแรงงานนั้นมี เงื่อนไขว่า ตลาดแรงานจะมีลักษณะเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือมีผู้ต้องการจ้างงานและผู้ต้องการที่ จะทำงานจำนวนมาก ไม่มีสหภาพแรงงาน องค์กรของนายจ้างหรือรัฐบาลเข้ามาแทรกแซง อัตรา ค่าจ้างและผลิตภาพของแรงงานไม่ขึ้นกับอัตราค่าจ้าง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินมีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้ที่แท้จริง ถ้าระดับราคาสินค้าทั่วไปเพิ่มเร็วกว่าอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินมี ผลทำให้รายได้ที่แท้จริงลดลง แต่ถ้าระดับราคาสินค้าเพิ่มช้ากว่าอัตราการเพิ่มค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน รายได้ที่แท้จริงจะสูงขึ้น อัตราค่าจ้างที่แท้จริง จำนวนแรงงาน แรงงานส่วนเกิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==